Page 149 - kpiebook66030
P. 149
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและประเทศที่เป็นอำนาจนิยม หลักการของประชาธิปไตยจึงถูก
สั่นคลอน เกิดเป็นความไม่มั่นคงขึ้น
พลอากาศโท ภูมิใจ ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ไว้ว่า ระบบการเมืองภายใน
อเมริกาที่ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็นแม่แบบของระบบประชาธิปตยนั้นเผชิญหน้ากับการถูกตั้ง
คำถามว่าเป็นปัญหาหรือไม่ โดยถูกโจมตีจากระบบอื่น โดยเฉพาะในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ
ภายในประเทศ ซึ่ง รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ เองก็ได้เสริมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบ
การเมืองไว้ว่า ระบบการเมืองแบบปิดเช่นประเทศจีน มีการดำเนินนโยบายผ่านผู้นำที่เข้มแข็ง
มีเสถียรภาพจนก่อให้เกิดความมั่งคั่ง หรือดำเนินนโยบายได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งสามารถ
ตอบโจทย์ความต้องการได้ในบ้างแง่มุม อาทิ นโยบายการจัดการการแพร่ระบาดของโรค
เป็นต้น ทว่า ระบบประชาธิปไตยกลับมีแต้มต่อที่สูงกว่า เนื่องจากได้รับความชอบธรรม
ในการดำเนินนโยบาย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่ามีทีมาจากประชาชน
นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญภายใต้บริบทของความเป็นประชาธิปตย คือการมีผู้นำที่มี
วิสัยทัศน์ (smart leadership) พลอากาศโท ภูมิใจ กล่าวว่า ทุกอย่างเกิดจากผู้นำ ไม่ว่า
จะเป็นการแก้ไขปัญหาไปจนถึงการสร้างชีวิตที่มีความสุขและมีประสิทธิภาพภายในสังคม
วิสัยทัศน์ ความเชื่อ ค่านิยม รวมไปถึงการดำเนินนโยบายของผู้นำจึงเป็นคำถามสำคัญ
ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด ประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ เช่นเดียวกัน
ได้เสริมในประเด็นของผู้นำว่า ความสามารถในการผลักดันนโยบาย รู้ว่าต้องทำอะไร รวมถึง
การสร้างนโยบายที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเองในระดับท้องถิ่น นั้นก็มีส่วนสำคัญ
ในการผลักดันความเข้มแข็งของประชาธิปไตย
ศ.กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู ในตอนท้าย ได้สรุปถึงประเด็นดังกล่าวนี้ไว้ว่า
ทั้งสองระบบนั้นสามารถจัดการกับปัญหาได้เหมือนกัน ในขณะที่ระบบการเมืองแบบอำนาจ
นิยมสามารถจัดการได้อย่างเด็ดขาด และประสบความสำเร็จได้ในระยะสั้น ทว่าระบบการเมือง
แบบประชาธิปไตยจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ยั้งยืนกว่าในระยะยาว ซึ่งระบอบการปกครองแบบ
เปิดที่มีความโปร่งใส ยึดถือหลักนิติรัฐ-นิติธรรม และยอมรับความแตกต่าง ในระยะสั้น
อาจจะดูวุ่นวายหรือสับสน แต่ภายในสังคมมีกลไกกระบวนการประชาธิปไตยที่สามารถช่วย
ผลักดันให้เกิดการปรับตัวและแก้ไขภายใต้กรอบของการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติได้
ในท้ายที่สุด
ประชาธิปไตยจึงไม่ได้ด้อยไปกว่าระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม เพียงแต่จำเป็นต้องมี
การพัฒนาและปรับปรุงอยู่สม่ำเสมอ ไม่สามารถที่จะหยุดพัฒนาตนเองได้ การรับมือ
และรองรับความท้าทายแบบใหม่นั้น ประชาธิปไตยจำเป็นจะต้องมีความเข้มแข็ง กล่าวคือมี
การยึดมั่นและเชื่อถือว่าประชาธิปไตยจะเป็นทางออก แม้ว่าในระยะสั้นการจัดการในรูปแบบ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
เผด็จการอาจจะสะท้อนผลลัพธ์ในเชิงบวก ทว่าในระยะยาวการบริหารในรูปแบบอำนาจนิยมนั้น