Page 146 - kpiebook66030
P. 146
สรุปการประชุมวิชาการ
1 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
โดยมีพื้นที่ในภูมิภาคอินโดแฟซิฟิกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการแข่งขันระหว่างสหรัฐ
และจีน
รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ อธิบายว่า ในปัจจุบัน แม้ว่าโลกจะมีลักษณะหลายขั้ว (multi
polar) ที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์มากขึ้น ทว่าแท้จริงแล้วอำนาจของโลกกำลัง
เคลื่อนตัวไปสู่สภาวะสองขั้วอำนาจ เกิดเป็นการปะทะกันระหว่างระเบียบโลกสองชุด (clash of
international orders) ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองหรือระบบเศรษฐกิจ อันได้แก่
ประชาธิปไตยแบบเสรีและระบบเศรษฐกิจแบบตลาด กับ ระบบที่รัฐมีบทบาทในการพัฒนา
เศรษฐกิจไม่ว่าจะเรื่องของทุนนิยมหรืออื่น ๆ ในการนี้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจจึงก้าวขึ้นมา
มีบทบาทสำคัญในการแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหม่เมื่อต่างฝ่ายต่างต้องการที่จะพึ่งพิงตนเอง
มากกว่า (decoupling)
การแข่งขันในครั้งนี้เกิดเป็นรูปแบบของ 3T + 1I ได้แก่ Trade war สงครามการค้าและ
กำแพงภาษี Technology ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม Territory การแข่งขัน
ทางดินแดนที่ไม่ได้หมายถึงการยึดครองพื้นที่ แต่เป็นการยึดผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจ
ที่เกี่ยวข้องกับพรมแดน อาทิ กรณีของไต้หวัน และ Infrastructure การแข่งขันสร้างโครงสร้าง
พื้นฐานที่มีคุณภาพเพื่อการลงทุนในประเทศอื่น ๆ
นายชงรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ชี้ให้เห็นความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน
ที่เพิ่มมากขึ้นผ่านกระบวนการทำงานของสื่อและสถานทูตของทั้งสองประเทศ นับตั้งแต่
การขึ้นมาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง การทำงานในกระบวนการสื่อสารต่อ
สาธารณะหรือประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลจีนนั้นเป็นไปในเชิงรุก ตรงกันข้ามกับสถานทูต
ของสหรัฐฯ ที่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ จนกระทั่งได้ทราบถึงโครงการของสถานทูตจีนจึงได้
ดำเนินการแบบเดียวกันบ้าง กรณีดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการถูกทำให้เป็นประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopoliticize)
ที่ รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ กล่าวว่าหลายประเด็นในปัจจุบันนั้นถูกแปลงให้กลายเป็นเรื่องของ
การแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่รวมไปถึงความมั่นคง
ของมนุษย์ การกำหนดคำนิยาม การสื่อสาร สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐานไซเบอร์ หรือแม้แต่
รูปแบบของการพัฒนาโลก (อาทิ SDGs และ GDI) ถูกแบ่งให้เกิดเป็นการแข่งขันและการช่วงชิง
ระหว่างสองขั้ว ภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงไม่ใช่เพียงการปะทะกันระหว่างมหาอำนาจที่ต้องการ
จะจัดระเบียบโลกใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณะประชาชนจีน แต่ยังรวมไปถึงประเด็น
อื่น ๆ ตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นเดียวกัน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 ยังไม่สามารถสู้กับสหรัฐฯ ได้ภายใน 20-40 ปีนี้ ซึ่ง พลอากาศโท ภูมิใจ เช่นเดียวกันมองว่า
ในความคิดเห็นของ รศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร มองว่าศักยภาพของประเทศจีน
จีนนั้นยังไม่สามารถสู้ขีดความสามารถทางการทหารกับสหรัฐได้ในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงจำเป็น