Page 147 - kpiebook66030
P. 147

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             จะต้องมีผู้ช่วย หรือสร้างการจับขั้วที่แน่นแฟ้นเพื่อผลประโยชน์ อย่างในความสัมพันธ์ระหว่าง
             จีนรัสเซีย แต่ในขณะเดียวกัน รศ. ดร.จิตติภัทร พูนขำ เสนอว่าจีนพยายามผลักดันบทบาท
             ของตัวเองในฐานะของการเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย
             ในรูปแบบ 3R เพื่อ ได้แก่ Reassuring ความพยายามที่จะให้การรับรองว่าจีนจะผงาดขึ้นอย่าง

             สันติในมิติต่าง ๆ Reforming การปฏิรูประบบระหว่างประเทศและระเบียบโลกเพื่อให้จีน
             สามารถที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และ Resisting การต่อต้านบทบาทอิทธิพลของ
             สหรัฐหรือตะวันตกที่รุกล้ำเข้ามาในบริเวณพื้นที่ผลประโยชน์หลักของจีน ซึ่งผลการผลักดัน

             ในรูปแบบดังกล่าว นำมาซึ่งมุมมองและท่าทีของสหรัฐที่แข็งกร้าวต่อจีนที่มากยิ่งขึ้น สอดคล้อง
             กับที่ รศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้อธิบายต่อจากความคิดเห็นของตนเอง ว่าจีนในอีก
             50-100 ปี ข้างหน้าอาจจะเข้มแข็งขึ้นได้ ฉะนั้นจึงจะเป็นการดีกว่า หากสหรัฐตัดสินใจที่จะ
             จัดการกับจีนได้เด็ดขาดเหมือนญี่ปุ่น


                   ในประเด็นการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีนดังกล่าวนี้ หลายท่านมองว่ามีรูปแบบ
             ภูมิรัฐศาสตร์ที่ความแตกต่างจากช่วงยุคสงครามเย็นที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีความตึงเครียด
             ระหว่างสองมหาอำนาจจริง ทว่า แต่ละประเทศและตัวแสดงนั้นกลับมีความยืดหยุ่นใน
             การดำเนินนโยบายการต่างประเทศมากกว่าในอดีต ไม่จำเป็นจะต้องเลือกอยู่แต่กับค่ายใด
             ค่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว หลายรัฐ (ขนาดเล็กและกลาง) ยังสามารถพิจารณาว่าผลประโยชน์

             ของตนเองนั้นอยู่กับทุกฝ่าย ไม่ได้มีการคำนึงถึงเรื่องระบบคุณค่าจนเกิดเป็นการต่อต้านฝ่ายใด
             ฝ่ายหนึ่งอย่างตรงไปตรงมา ระบบพันธมิตรยังไม่ชัดเจนหรือตายตัวเหมือนในสมัยก่อน
             ในปัจจุบัน มีเพียงการรวมกลุ่มเพื่อแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ (minilateralism) ยกตัวอย่างเช่น

             กลุ่ม QUAD และ AUKUS

                   นอกจากตัวแสดงอื่น ๆ แล้ว ประเทศจีนในฐานะที่เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจของการแข่งขัน
             ยังมีรูปแบบการดำเนินนโยบายการต่างประเทศรวมถึงบริบทภายในประเทศที่แตกต่างกับ
             สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น อาทิเช่น นโยบายทางเศรษฐกิจของจีนที่ปฏิเสธไม่ได้ถึง

             ความเชื่อมโยงกับตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ

                   ทั้งนี้ รูปแบบของความท้าทายทางความมั่นคงยังมีการเปลี่ยนผ่าน แม้ว่า รศ. ดร.ปณิธาน
             วัฒนายากร จะให้การนิยามความมั่นคงในรูปแบบดั้งเดิม และกล่าวถึงการแข่งขันระหว่าง
             มหาอำนาจในรูปแบบของสงครามผสม (hybrid war) ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นผ่านการเกิดขึ้น

             ของการก่อการร้าย ความขัดแย้งทางการเงิน เศรษฐกิจ และไซเบอร์ พลอากาศโท ภูมิใจ
             ได้โต้แย้งมุมมองดังกล่าว โดยอธิบายว่าการจะทำสงครามนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ผู้นำจำเป็น
             จะต้องพิจารณา สงครามจะเป็นเครื่องมือสุดท้ายในความขัดแย้งและการแข่งขัน ความท้าทาย
             รูปแบบใหม่ภายใต้สภาวะการแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ในยุคปัจจุบันสำหรับ พลอากาศโท ภูมิใจ

             จึงประกอบไปด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ 1 ประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคง       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
             ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2. ประเด็นภาวะผู้นำที่มีความสำคัญถึงความเป็นประชาธิปไตย
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152