Page 140 - kpiebook66030
P. 140
สรุปการประชุมวิชาการ
1 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยออกมาเปิดเผย เพื่อที่จะบอกว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ประชาชนจะใช้ใน
การตัดสินใจในเชิงประชาธิปไตยได้อย่างไร
สิ่งหนึ่งที่สามารถอธิบายเรื่องการใช้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยได้อย่างง่ายเลย
ก็คือแอพลิเคชันที่ชื่อ PolitiMate ซึ่งเป็นการใช้กับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งมีจุดปประสงค์
เพื่อจับคู่ความต้องการของประชาชนผู้ใช้แอพลิเคชันนี้ กับผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ว่าตรงกับผู้สมัครท่านใด มากน้อยขนาดไหน ซึ่งได้ใช้วิธีการทั้งเชิงเทคโนโลยี
และวิธีการเชิงข้อมูล เข้ามาประสานกัน ก่อให้เกิด PolitiMate อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า
จุดประสงค์ของมันก็คือว่าเราต้องการอยากจะให้ประชาชนทั่วไปใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน
ในการตัดสินใจในการเลือกตั้งมากขึ้น และให้ผู้เล่นได้มีความสนุกสนาน ทำให้การเมือง
เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว นั่นคือจุดประสงค์ของเกิดขึ้นของ PolitiMate
จากนั้นต้องมีการผลักดัน data governance หรือการบริหารงานด้วยข้อมูล ในช่วง
เลือกตั้งที่ผ่านมาของเลือกตั้งผู้ว่าสิ่งที่ Rocket Media Lab ทำก็คือเราทำสิ่งที่เรียกว่า
Bangkok Index ขึ้นมา Bangkok Index มันจะเป็นความพยายามที่เราอยากจะบอกว่า
การตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครสักคน บางทีมันอาจไม่ได้ดูแค่ตัวนโยบายของ ผู้สมัคร
สิ่งที่เราพยายามอยากจะให้ทุกคนมอง คืออยากให้มองกรุงเทพมหานครในฐานะ 1. พื้นที่
มองกรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานการปกครอง แล้วก็หน่วยงานที่ทำงานบริการให้กับ
ประชาชน ฉะนั้นสิ่งที่เราจะชวนคุย มันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับกรุงเทพ ไม่ใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ
Candidate ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง มันจึงเป็นความพยายามที่จะนำข้อมูลของกรุงเทพมหานคร
ในส่วนต่าง ๆ ออกมาเปิดเผย ออกมาสร้างแรงกระเพื่อมในการที่จะให้ประชาชนใช้ใน
การตัดสินใจในการเลือกตั้งในช่วงนั้น Bangkok Index ก็จะแบ่งข้อมูลออกมาเป็น 4 ด้านด้วย
กัน คือ 1. เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน 2. การเข้าถึงบริการพื้นฐาน 3. ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ในกรุงเทพมหานคร และ 4. สิ่งแวดล้อม
ความท้าทายของการทำงานในเชิง Data Governance ก็คือไม่ใช่แค่กระทุ้งให้หน่วยงาน
ราชการเปิดข้อมูลออกมา แต่ประเด็นคือว่าเราจะทำยังไงที่จะสามารถนำข้อมูลของทางราชการ
หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับราชการและเกี่ยวข้องกับการที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจใด ๆ
ต่าง ๆ ออกมาเปิดเผยได้ ความท้าทายแรกคือจัดหาข้อมูลมาจากไหนอย่างไร จะเก็บข้อมูล
มาจากไหนอย่างไร นั่นคือความท้าทายอันดับแรกของคนทำข้อมูลในเมืองไทย ซึ่งคิดว่าจาก
การทำงานที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นว่าความยากลำบาก ขรุขระ ในประเด็นนี้ก็คือการพยายาม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 ที่เราจะผลักดันให้หน่วยงานรัฐเองเป็นคนเปิดเผยข้อมูลเอง ไม่ใช่หน่วยงานที่เป็นองค์กร
เอกชนอย่างเรา เพราะสุดท้ายความน่าเชื่อถือของข้อมูลอาจแตกต่างกัน
ดังนั้น โจทย์คือ จะสามารถทำอย่างไรให้การใช้เทคโนโลยีในลักษณะนี้ ถูกส่งไปถึงมือ
ของผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้เกิดนโยบายและการบริหารที่ใช้ข้อมูลอย่างแท้จริง และจะกระตุ้น