Page 138 - kpiebook66030
P. 138

สรุปการประชุมวิชาการ
     12  สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ส่วนบุคคลจึงต้องการให้ปิดข้อมูลเพื่อไม่ให้ข้อมูลของประชาชนรั่วไหลออกไป แต่ พ.ร.บ.ข้อมูล
           ข่าวสารราชการนั้น ถือเป็นข้อมูลภาครัฐ ซึ่งต้องมีความโปร่งใส ตามหลักการประชาธิปไตย
           ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบได้
           จึงมีความต้องการให้เปิดข้อมูลเหล่านี้สู่สาธารณะ และแน่นอนว่าบางส่วนข้อมูลสาธารณะเหล่านั้น

           ก็มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะจึงเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
           บางส่วนด้วย ดังนั้น ความสมดุลของการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนี้ยังไม่มี

                 ต่อมาเมื่อข้อมูลเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลจากรัฐนั้นไม่ได้อยู่แค่
           ในกระดาษเท่านั้น แต่ยังอยู่บน cloud ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่า

           เมื่อข้อมูลไปอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตนั้นทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะถูก
           จารกรรมข้อมูลได้ เช่นเดียวกับการให้บริการประชาชน ที่ให้ประชาชนใส่ข้อมูลส่วนตัวเพื่อ
           ขอรับบริการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การขอถังขยะ สามารถขอออนไลน์ได้ การต่อใบอนุญาตขับขี่

           พาหนะ เป็นต้น ข้อมูลของประชาชนก็จะถูกบันทึกไว้ใน server ที่เก็บข้อมูล ข้อดีคือ แม้ว่า
           มันจะลดการทุจริต และลดขั้นตอนได้ แต่ข้อมูลเหล่านั้นก็มีความเสี่ยงที่จะถูกจารกรรมได้เช่นกัน
           อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้ตาม PDPA ก็บอกให้ปิด เนื่องจากมีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ แต่ตาม
           พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารราชการ ก็บอกให้เปิดเพื่อความโปร่งใสและเอื้อให้ภาคประชาชนสามารถ
           ตรวจสอบได้ แต่ก็ยังมีระบุว่า หากรุกล้ำสิ่งส่วนบุคคลมากเกินไป ก็ไม่ต้องเปิดได้ แต่เท่าใด

           จึงเป็นมากเกินไป

                 แต่อย่างไรก็ดี ดร.ปิติ ได้เสนอว่า ความเป็นส่วนตัวกับการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ
           นั้น ไม่จำเป็นต้องขัดกัน เนื่องจากเราสามารถแยกข้อมูลอย่างเช่นค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่

           ท้องถิ่น คือประกอบไปด้วยเงินประโยชน์ตอบแทนกรณีพิเศษ รายงานการประชุม หลักฐาน
           ต่าง ๆ เราสามารถแยกได้ว่าส่วนที่จำเป็น ต่อการถูกตรวจสอบ เพื่อดูว่าหน่วยงานรัฐทำงาน
           เป็นอย่างไร มีการทุจริตหรือส่วนต่างหรือไม่ เพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ส่วนที่ระบุตัวตนของ
           บุคคลได้ คือ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ต่าง ๆ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้มีความจำเป็น

           ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปิด ดังนั้น โจทย์คือการสร้างสมดุลในส่วนนี้
           เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ เพื่อความโปร่งใส และไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวจนเกินเหตุ

                   แต่ด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่ 4 ปี 2564
           ที่อนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บน cloud ได้ ติดต่อราชการออนไลน์ เพื่อรองรับ

           การปฏิบัติงานที่บ้าน แม้จะมีข้อดี แต่ระบบนั้นสามารถเข้าถึงได้จากหลายอุปกรณ์ และเข้าถึง
           ได้จากหลายที่ ย่อมมีความเสี่ยงสูงขึ้น ที่จะถูกจารกรรมข้อมูล ดังที่ ดร.ปริญญา ได้เสนอ
    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   ไปข้างต้น ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องในทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ เว็ปไซต์

           หรือ server ว่าจะมีประสิทธิภาพไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และสามารถปิดไม่ให้ผู้ใช้นั้นสามารถ

           เข้าถึงข้อมูลส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนงานของตนเองได้อย่างไร และหากฝ่าฝืน จะมีโทษ
           อย่างไร เป็นต้น
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143