Page 137 - kpiebook66030
P. 137
สรุปการประชุมวิชาการ 12
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ผู้ใช้ไปจนหมด เป็นต้น ซึ่งบางครั้งเป็นการให้กดลิ้งค์ บางครั้งเป็นการหลอกชักชวนให้โหลด
แอพลิเคชันจาก App Store หรือ Google Play Store ของทางผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการเอง
ซึ่งนับว่าแม้จะใช้บริการโดยตรงแบบไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือจากฟังก์ชันของโทรศัพท์ ก็อาจ
ตกเป็นเหยื่อได้
กรณีต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเยอะมากในประเทศไทย หน่วยงานด้านการป้องกัน
ปราบปรามอาชญากรรมอย่างตำรวจนั้นไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ทั้งข้อจำกัดด้านปริมาณของ
เจ้าหน้าที่ และศักยภาพด้านเทคโนโลยีที่อาจผลิตบุคลากรไม่ทัน ในแต่ละเดือนมีกรณีเหล่านี้
กว่าหนึ่งหมื่นคดี ทำให้จัดการได้ไม่ทัน จึงต้องอาศัยการป้องกัน โดยการไม่เข้าไปยุ่งกับลิ้งค์
หรือข้อความที่แปลกปลอม สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นทุกวัน และอธิบายไม่ได้
เพราะกว่าจะอธิบายภัยคุกคามแบบปัจจุบันได้ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ก็เกิดขึ้นไปแล้ว ดังนั้น
การใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร จึงถูกจัดว่าเป็นความเสี่ยงตาม
Global Risks Report ในหมวดของ Cyber Security
ปัญหาที่ตามมาเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้มากเข้าก็คือ Cyber Sovereignty หรือ อำนาจ
อธิปไตยทางไซเบอร์ ก็คือการ เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเคยเข้าไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการใช้บัญชีโซเชียงมีเดีย การถ่ายภาพที่ติดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ การท่องเว็ปไซต์
การดาวน์โหลด ต่าง ๆ สิ่งนี้ทำให้เกิด digital footprint ของผู้ใช้งาน และทำให้ footprint
เหล่านั้นถูกเก็บไว้เป็นข้อมูลที่ถูกรวบรวมเอาไว้ เช่นเดียวกับ big data และข้อมูลนั้นก็พร้อม
เสมอที่จะถูกนำมาจำหน่ายเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานทางอินเตอร์เน็ตเพื่อทำการค้าต่อ
โดยอาจมีเครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ทำให้เพียงแค่การใช้งาน
อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้หรือประชาชนทั่วไป ก็เป็นการช่วยให้ผู้ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น
ทำการค้าได้มากขึ้นแล้ว
ดร.ปริญญา จึงได้สรุปว่า แม้มนุษย์จะมีความเท่าเทียมกันในหลายด้าน แต่มนุษย์นั้น
มีความไม่เท่าเทียมกันในแง่ของทักษะการใช้เทคโนโลยี อันเป็นเหตุของความเหลื่อมล้ำทาง
การเข้าถึงและใช้งานทางดิจิทัล (digital literacy) สิ่งที่จะทำให้ประชาชนดำเนินชีวิตต่อไปคือ
รู้เท่าทันและจะต้องรู้จักการใช้งานเทคโนโลยีให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น คำถามที่ว่าเราปลอดภัยหรือ
ไม่ จึงตอบได้เลยว่าไม่ แต่เราพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่เราจะเผชิญต่อภัยคุกคามทางเทคโนโลยี
หรือไม่ต่างหาก คือ คำถามของยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีนี้อย่างแท้จริง
ผศ. ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
ประเด็นลักลั่นของกฎหมายไซเบอร์ไทย: ความขัดแย้งกันเองของกฎหมาย
ดร.ปิติ เริ่มจากการเกริ่นว่า กฎหมายทางไซเบอร์เองนั้นมีความขัดแย้งกันเองอยู่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารราชการ
ที่มีลักษณะอันหนึ่งสั่งให้ปิด แต่อันหนึ่งสั่งให้เปิด เนื่องจาก PDPA นั้นต้องการคุ้มครองข้อมูล