Page 108 - kpiebook66030
P. 108

สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           แล้วก็ดูผลประเมินประสิทธิภาพของการใช้การลงทุนทางด้านยุทธศาสตร์พวกนี้ควบคู่ไปกับ
           การพัฒนาประเทศ ก็จะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ได้                                        สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจำปี 2565
                                                                                                                            24  Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2022
                                                                                                                               th
           ศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์


                 ความมั่นคงใหม่ในทศวรรษนี้ จะหมายถึงการรุกรานระหว่างประเทศ การละเมิดอธิปไตย
           การละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดน อย่างเช่น สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ความมั่นคงใหม่
           วันนี้ก็คือความมั่นคงเก่าของ 15 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ความมั่นคงใหม่ที่พูดถึง คือ
           ความมั่นคงใหม่เดิม บริบทนี้จะต้องเข้าใจว่าข้อท้าทายของมันที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันตาเห็น

           อย่างทันที เพราะว่าการรุกรานระหว่างประเทศแบบเก่า ๆ ก็กลับมาปรากฏให้เห็น ในขณะที่
           ความท้าทายจาก สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ พลังงาน โรคระบาด ทั้งหลายที่ยังคงขยายตัว
           อยู่ เช่นเดียวกับ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การค้าแรงงาน

           สิ่งเหล่านี้คือความท้าทายจากภายนอก

                 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภัยคุกคามมองเป็นว่าภัยคุกคามภายในของประเทศไทย
           คนรุ่นใหม่บางช่วงวัยที่ความจงรักภักดีต่อชาติลดลง การสำรวจนี้เป็นการตีความว่าภัยคุกคาม
           มันอยู่ข้างในประเทศไทยแล้ว และไม่ได้มาจากภายนอก เพราะฉะนั้น จึงแปลว่าประเทศไทย

           ต้องมีการพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ อันนี้ก็โดยมีรัฐธรรมนูญเป็น
           ตัวกำหนดในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ

                 โดยสรุปแล้ว ความมั่นคงใหม่ คือ ประเด็นเรื่องความมั่นคงแบบเดิม เพราะฉะนั้น
           ความท้าทายเรื่องมั่นคงของประเทศไทยจึงเป็นภัยคุกคามมาจากภายใน และสังคมต้องพยายาม

           ให้ระบอบประชาธิปไตยมีความแข็งแรง และเป็นที่เชื่อถือยอมรับ ใช้การได้ โดยยึดรัฐธรรมนูญ
           เป็นตัวกำหนด ซึ่งรัฐธรรมนูญนั้นต้องมาจากประชาชน
    การนำเสนอมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิและอภิปรายร่วม
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113