Page 105 - kpiebook66030
P. 105

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

                   ความท้าทายของความมั่นคงใหม่ในช่วงเวลาต่อไป ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสภาพภูมิอากาศ

             เรื่องสุขภาพ และเรื่องเทคโนโลยี จะมีนัยกับประเทศไทยและกับประชาธิปไตย โดยเรียกว่า
             เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและมีผลต่อประชาธิปไตย และมีผลต่อ
             ประเทศไทยในการตอบสนองกับปัจจัยความมั่นคงใหม่เหล่านี้


                   อีกมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง คือ การพัฒนาที่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งเปรียบเสมือน
             โรคร้าย เป็นการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนชนบทของประเทศอ่อนแอลงตลอดเวลา เรียกง่าย ๆ ว่า
             ยิ่งพัฒนายิ่งอ่อนแอ ยิ่งพัฒนายิ่งเป็นหนี้ ยิ่งสูญเสียที่ดิน ยิ่งมีแต่ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้
             มันนำมาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมา ปัญหารุกล้ำป่า ปัญหาภูเข้าหัวโล้น ปัญหาแหล่งน้ำ
             เสื่อมโทรม ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาฝุ่นและการเผา ปัญหาของชุมชน

             ที่มีแต่เด็กกับคนแก่ ปัญหาสุขภาพชุมชน ปัญหาการศึกษา ปัญหาความเหลื่อมล้ำทำให้
             ประชากร 20 ล้านคน คน หรือ 1 ใน 3 ของประเทศ จมปลักวนเวียนอยู่กับการพัฒนาที่ไป
             ต่อไม่ได้

                   ความอ่อนแอดังกล่าวนำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ ที่ทำให้คนที่เปราะบางจำนวนกว่า 20 ล้านคน

             ต้องพึ่งพานักการเมือง และติดหนี้บุญคุณนักการเมืองซึ่งสาเหตุเกิดจากรากฐานของสังคม
             ที่อ่อนแอ ฉะนั้นแล้วความเข้มแข็งจากฐานรากจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ประชาธิปไตย
             จะแข็งแกร่งได้ฐานรากจะต้องเข้มแข็ง ในเงื่อนไขที่ประชาชนไม่สามารถยืนขึ้นมาได้ ประชาชน

             ก็ไม่มีเสียงประชาธิปไตยก็ไปต่อไม่ได้เช่นกัน ขณะนี้หลายประเทศได้มีการตั้งคำถามว่า
             ประชาธิปไตยนั้นเดินผิดทางหรือไม่ ทำไมทำแล้วยิ่งเกิดปัญหา จากคำถามทั้งหมดทางออกก็คือ
             การต้องกลับไปที่ฐานราก เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ให้เข้มแข็ง เมื่อฐานรากเข้มแข็ง บ้านก็จะมั่นคง
             เมื่อบ้านมั่นคง บ้านก็จะสูงขึ้นได้


                   ที่ผ่านมาประเทศไทยมีหลายชุมชนที่ลุกขึ้นมาได้ เพราะต้องการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง
             และไม่รอการพัฒนาจากข้างบนให้ลงข้างล่าง ชุมชนจำนวนมากในประเทศไทยที่ได้ลุกขึ้นมาทำ
             เรื่องนี้อย่างจริงจังได้กลายเป็นชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศไทย เช่น ป่าชุมชน ธนาคารชุมชน
             ฝายมีชีวิต ธนาคารชุมชน สวัสดิการชุมชน สาธารณสุขชุมชน ฯลฯ ถ้าสามารถสร้างจุดเล็ก ๆ

             เหล่านี้ได้ทั่วประเทศไทย ก็จะกลายเป็นเสาเข็มใหม่ที่รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและนำไป
             สู่การพัฒนาที่สำเร็จอย่างแท้จริง แล้วก็จะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ยกตัวอย่าง   การนำเสนอมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิและอภิปรายร่วม
             ชุมชนหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนนี้เก็บออมกันเองไม่รอเงินรัฐบาลวันละ 1 บาท
             จาก 4,000 คน ครบ 1 ปี ได้ 1.6 ล้านบาท พอ 10 ปีได้เงินประมาณ 20 ล้านบาท รวมเงิน

             จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารออมสิน ปัจจุบันมีกองทุนประมาณ
             60 ล้านบาท ชาวบ้านทุกคนไม่กู้หนี้นอกระบบและมีเงินออมสามารถทำโครงการต่าง ๆ เองได้
             อีกทั้งมีหลักการว่าไม่ต้องมีเครดิตบูโร ไม่ต้องมีที่ดิน ไม่ต้องมีการค้ำประกัน ไม่ต้องมี
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110