Page 104 - kpiebook66030
P. 104

สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ชัดเจนระหว่างกลุ่มเยาวชนกับกลุ่มอื่นๆ โดยในปีที่ผ่านมาลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด

                 ความมั่นคงภายนอก คือ ความไว้วางใจรัฐบาลและความไว้วางใจกับบุคคลที่เข้ามาเป็น
           รัฐบาลนั้นลดลง ดูจากความไม่ไว้วางใจต่อสถาบันที่มาด้วยวิถีประชาธิปไตย หรือสถาบัน

           ที่ดูแลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของประเทศกับเรื่องของความไว้วางใจบุคคลต่างๆ ในขณะที่
           ความมั่นคงภายใน คือ บุคคลนั้นมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงทาง
           การเมืองได้หรือไม่ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน โดยพบว่า
           การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ใช่การเลือกตั้งลดลงมาโดยตลอด ความเข้มแข็งจากภายในเรื่อง
           การรองรับวิกฤตจาการเปลี่ยนแปลงลดลง กลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 18 – 20 ปี รู้สึกว่าตัวเอง

           ไม่มีอิทธิพลอะไรต่อการทำงานของรัฐบาลอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีอิทธิพลต่อรัฐ จะหันไป
           เชื่อมั่นกันเอง แล้วก็หันมาทำการเมืองของตัวเอง

                 จากการศึกษาพบว่าการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนลดลง แล้วก็คุณภาพ

           การบริการของรัฐยังไม่ถูกใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา สังคมและเศรษฐกิจ แก้ปัญหา
           คอร์รัปชันไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างมี
           ประสิทธิผล เพราะความเหลื่อมล้ำที่สูงที่สุดคือความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และทรัพย์สิน
           รองลงมาก็คือด้านการศึกษา ด้านกระบวนการยุติธรรม และคุณภาพสังคม จากการศึกษา

           พบว่า ประชากรคนรุ่นใหม่และคนสูงวัยถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอายุ ในขณะที่ประชากร
           ก็วัยทำงานถูกเลือกปฏิบัติจากฐานะ ปัญหาดังกล่าวสร้างความขัดแย้งและความเปราะบาง
           ในสังคมไทย

                 จากการศึกษายังชี้ว่า ความขัดแย้งในสังคมเกิดจาก การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

           ซึ่งทำให้ความพอใจของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตยลดลงอย่างเห็นได้ เช่นเดียวกับ
           ค่านิยมของการเป็นพลเมืองที่ลดลง เช่น การไม่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ
           การไม่เสียภาษี และการทำงานเพื่อส่วนรวม ซึ่งอาการเหล่านี้สะท้อนว่าลดลง ในขณะที่
    การนำเสนอมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิและอภิปรายร่วม
           ประชาชนกลับมองว่ารัฐปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือ

           การตอบสนองโดยรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับประสิทธิภาพทางการเมือง
           และความเป็นพลเมือง

                 ด้วยเหตุนี้จึงพบว่า ประเด็นข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด การเปิดเผยข้อมูลเรื่อง
           ของการทำงาน การดูแลประชาชน กำหนดนโยบายสร้างกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม

           ที่ให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นพลเมืองที่ดี และค่านิยมร่วม ทั้งบริบทการเมืองในระดับชาติ
           และระดับท้องถิ่น รัฐ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา ฯลฯ ต้องทำหน้าที่
           เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเสริมพลังทางสังคมในรูปแบบของฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนให้สังคม

           ตลอดจนมีการสื่อสารที่เข้าใจประชาชน โดยหลักการที่สำคัญในการขับคือต้องยึดมั่นในระบอบ
           ประชาธิปไตย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109