Page 7 - kpiebook66024
P. 7

VII
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ทำปัญหาเรื่องการเมืองให้กลายเป็นเรื่องกฎหมายและให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งทำให้เกิด
           การวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐสภา อ่อนแอลง อีกทั้ง
           การแก้ปัญหาโดยทำให้เรื่องการเมืองเป็นเรื่องกฎหมายนั้น จะทำให้เหลือทางออกเพียง

           “ใช่” กับ “ไม่ใช่” หรือ “ผิด” กับ “ถูก” ซึ่งขาดการประสานประโยชน์หรือทำให้เกิด
           สถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

                 ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางในการไขปัญหาเรื่องของบกพร่อง
           ของการตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาเพื่อนำมาปรับใช้กับกรณีของประเทศไทย

           โดยอยู่ภายใต้หลักการที่ว่า ทำอย่างไรให้รัฐสภาสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร
           ได้อย่างแท้จริง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าการตรวจสอบนั้นจะต้องยังคงทำให้การบริหาร
           ราชการแผ่นดินสามารถดำเนินต่อไปได้ และนำเสนอข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกสำหรับ

           การแก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
           ในระบบรัฐสภาในประเทศไทยด้วย เพื่อตอบคำถามว่า จะทำอย่างไรให้เกิด
           การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้อย่างแท้จริงในระบบ

           รัฐสภาซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมาก
           ของสภาผู้แทนราษฎร หรือก็คือ เป็นระบบที่ทำไห้ประมุขของฝ่ายบริหารและ
           เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็น “พวกเดียวกัน”

                 ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยทั้งหมดได้ทำให้เกิดข้อสังเกตที่สำคัญ ดังนี้

                 1. ในกลุ่มประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

           ไม่มีประเทศใดสร้างกลไกในลักษณะไปถึงที่ทำให้ฝ่ายบริหารต้องถูกตรวจสอบ
           จนไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างปกติ และไม่มีประเทศใดที่สร้างกลไก
           ให้ตัวของพรรคฝ่ายค้านโดยตัวเองซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถล้มนโยบาย

           ฝ่ายบริหารหรือทำให้ฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้เนื่องจากถือเป็นการผิดธรรมชาติ
           ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเคารพเสียงของประชาชนที่เลือกตั้งมา

                 2. การตรวจสอบที่เกิดในกรณีพิเศษในต่างประเทศ (เช่น กรณีฝ่ายตุลาการ
           มีคำพิพากษาก้าวล่วงไปถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลซึ่งเป็นเรื่องทางการเมือง)

           จะมีลักษณะจำกัดการตรวจสอบอยู่ที่กิจการที่อาจไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
           ประชาชนได้
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12