Page 6 - kpiebook66024
P. 6

VI
                                                                                                                     การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           บทสรุปผู้บริหาร





                 การปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเป็นระบบที่กำหนดให้
           ประชาชนเลือกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และให้ฝ่ายนิติบัญญัติ

           เลือกประมุขของฝ่ายบริหาร เมื่อฝ่ายบริหารมีที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร
           จึงต้องอยู่ด้วยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
           ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ
           ตั้งกระทู้ถามหรือการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็ตาม ส่วนฝ่ายบริหารเอง

           ก็สามารถถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ด้วยการยุบสภา แม้ว่ารูปแบบ
           การปกครองดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในหลายประเทศแต่ก็ได้ผลลัพธ์แตกต่างกันจนต้องมี

           การปรับการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเพื่อให้
           เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม

                 ในส่วนของประเทศไทยนั้น ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ
           ประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็เลือกกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง

           ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารแบบระบบรัฐสภามาโดยตลอด ก่อนการประกาศใช้
           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540)
           บริบทการเมืองไทยถือว่าประสบปัญหากับความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้น
           การปฏิรูปการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงพยายามสร้างกลไกเพื่อให้

           รัฐบาลเข้มแข็งคล้ายกับกลไกของประเทศฝรั่งเศส และยังสร้างองค์กรตรวจสอบการใช้
           อำนาจรัฐเพื่อควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย และควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
           อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 กลับก่อให้เกิดปัญหาใหม่

           ซึ่งสะท้อนให้เห็นจุดอ่อนของระบบรัฐสภาที่ชัดเจน กล่าวคือ โดยธรรมชาติของ
           ระบบรัฐสภานั้น ฝ่ายบริหารจะมาจากเสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกล่าวอีก
           นัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายบริหารและเสียงข้างมากในรัฐสภาจะอยู่ฝ่ายเดียวกัน ทำให้

           การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในความเป็นจริง
           โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ฝ่ายบริหารมีเสียงข้างมากในรัฐสภาถึงขนาดที่พรรคฝ่ายค้าน
           มีเสียงไม่เพียงพอในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ และแม้ว่าที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญ

           แห่งราชอาณาจักรไทยที่ประกาศใช้หลังจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 จะพยายาม
           แก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การวางกลไกเพื่อแก้ปัญหามีลักษณะเหมือนการพยายาม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11