Page 3 - kpiebook66024
P. 3

III



           คำนำสถาบันพระปกเกล้า























                 การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาเป็นระบบที่กำหนดให้
           ประชาชนเลือกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และให้ฝ่ายนิติบัญญัติ
           เลือกประมุขของฝ่ายบริหาร เมื่อฝ่ายบริหารมีที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร
           จึงต้องอยู่ด้วยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ

           ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ
           ตั้งกระทู้ถามหรือการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็ตาม ส่วนฝ่ายบริหาร
           ก็สามารถถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ด้วยการยุบสภา และแม้ว่ารูปแบบ

           การปกครองดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในหลายประเทศแต่ก็ได้ผลลัพธ์แตกต่างกันจนต้องมี
           การปรับการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเพื่อให้
           เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม


                 ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระปกเกล้า จึงจัดให้มีการศึกษา เรื่อง “การตรวจสอบ
           ถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐสภา” ภายใต้โครงการ
           ศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งศึกษาวิจัยโดย ชมพูนุท

           ตั้งถาวร นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า โดยมุ่งศึกษาแนวทาง
           ในการแก้ไขปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของการตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาเพื่อนำมา
           ปรับใช้กับกรณีของประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้หลักการที่ว่า ทำอย่างไรให้รัฐสภา
   1   2   3   4   5   6   7   8