Page 178 - kpiebook66019
P. 178
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2565
และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545-2565
5.3.2 ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ปี 2545 - 2565
แผนภูมิ 5.9 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อ
การทำงานของสมาชิกรัฐสภา ปี 2545 – 2565
จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ
สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และ
สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) โดยในการศึกษาในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
ณ ปีนั้น ๆ โดยการสำรวจความเชื่อมั่นต่อ ส.ส. และ ส.ว. สำรวจในช่วงปี 2548 – 2557
และเว้นวรรคไปในช่วงปี 2558 – 2562 เป็นการสำรวจความเชื่อมั่นต่อ สนช. แล้วจึงกลับมาที่
ส.ส. และ ส.ว. อีกครั้งในปี 2563 เป็นต้นมา
ในส่วนของความเชื่อมั่นต่อ ส.ส. และ ส.ว. นั้น พบว่า ประชาชนเชื่อมั่นต่อ
การทำงานของ ส.ส. มากที่สุดในปี 2548 อยู่ที่ร้อยละ 67.5 และเชื่อมั่นต่อ ส.ว. มากที่สุด
ในปี 2545 อยู่ที่ร้อยละ 64.6 อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ ส.ส. และ ส.ว.
มีทิศทางที่ขึ้น ๆ ลง ๆ นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จนถึงปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่คณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามาทำหน้าที่จะเป็นช่วงที่ความเชื่อมั่นลดลงเหลือร้อยละ 40.3
สำหรับ ส.ว. และเหลือร้อยละ 37.2 สำหรับ ส.ส. อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสำรวจความเชื่อมั่น
ต่อการทำงานของ ส.ส. และ ส.ว. ในปี 2563 เป็นต้นมา พบว่า ประชาชนเชื่อมั่นต่อการทำงาน
ของ ส.ส. อยู่ที่ร้อยละ 39.7 และเพิ่มเป็นร้อยละ 45.9 ในปี 2564 และลดลงในปี 2565
เหลือร้อยละ 37.5 ในขณะที่ ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ ส.ว. อยู่ที่ร้อยละ 36.1 ในปี 2563
และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 41.9 ในปี 2564 และลดลงเช่นเดียวกับ ส.ส. เหลือร้อยละ 34.7
ในปี 2564 ตามลำดับ
1
สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร