Page 175 - kpiebook66019
P. 175
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2565
และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545-2565
สำหรับนโยบายการแก้ไขปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพงนั้น เริ่มสำรวจ
ในปี 2555 ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.9) จากนั้นจึงค่อยๆ ลดลง
เหลือร้อยละ 28.5 ในปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนพึงพอใจน้อยที่สุด และค่อยๆ เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2559 มีระดับความพึงพอใจที่ร้อยละ 48.0 หากแต่ในปี 2563
ความพึงพอใจกลับลดลงเหลือร้อยละ 33.6 จากนั้นจึงเพิ่มเป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2564
แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าในปี 2565 ประชาชนพอใจต่อการจัดการด้านนี้ของรัฐบาล
น้อยมาก เหลือเพียงร้อยละ 14.9 เท่านั้น
ส่วนนโยบายการบริหารจัดการพลังงานด้านราคาน้ำมัน แก๊ส พบว่าในปี 2559
ประชาชนพึงพอใจต่อนโยบายนี้มากที่สุด คือร้อยละ 83.1 จากนั้นจึงลดลงเหลือเพียงร้อยละ
46.4 ในปี 2562 และเพิ่มกว่าร้อยละ 10 ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 ประชาชน
เริ่มไม่พอใจกับนโยบายนี้โดยเหลือร้อยละ 41.5 และยิ่งน้อยลงอย่างรวดเร็ว โดยเหลือเพียง
ร้อยละ 12.8 ในปี 2565 ซึ่งน้อยที่สุดตลอดที่ทำการศึกษา
5.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ไขปัญหาสังคม
และเศรษฐกิจของรัฐบาล
แผนภูมิ 5.7 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถ
ในการแก้ไขปัญหาสังคม และเศรษฐกิจของรัฐบาล ปี 2550 – 2565
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่า “รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาด้าน
สังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับใด” พบว่า ในปี 2565 ประชาชนเกือบครึ่งเห็นว่า
รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาด้านสังคมได้ และอีกร้อยละ 37.7 ที่เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหา
1
สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร