Page 177 - kpiebook66019
P. 177
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2565
และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545-2565
จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการทำงานของนายกรัฐมนตรี
รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี (ครม.) สถาบันพรรคการเมือง พบว่า ในปี 2565 ประชาชนเชื่อมั่นต่อ
การทำงานของนายกรัฐมนตรี ที่ร้อยละ 40.5 รองลงมาคือ เชื่อมั่นต่อการทำงานของรัฐบาล/
คณะรัฐมนตรี ร้อยละ 36.6 และการทำงานของสถาบันพรรคการเมือง ร้อยละ 31.9
สำหรับภาพรวมของความเชื่อมั่นมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ
ในช่วงปี 2546 – 2551 ระดับความเชื่อมั่นต่อทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐบาล/ครม. และพรรคการเมือง
มีแนวโน้มที่ลดลง และถือว่าประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี โดยในปี 2551 มีระดับ
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันพรรคการเมืองอยู่ที่ร้อยละ 26.1 ในปี 2550 เชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีและ
รัฐบาล อยู่ที่ร้อยละ 37.6 และ 34.4 ตามลำดับ
หลังจากนั้น ในช่วงปี 2552 – 2557 มีรูปแบบที่คล้ายกัน คือ ระดับความเชื่อมั่น
ขึ้น ๆ ลง ๆ แต่จะมีจุดต่ำสุดในช่วงนี้อีกครั้ง คือในปี 2557 ซึ่งพบว่าเป็นปีที่ความเชื่อมั่นต่อ
นายกรัฐมนตรี มีเพียงร้อยละ 43.7 ต่อมาในปี 2558 ภายหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ได้เข้ามาทำ
หน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีนั้นได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากร้อยละ 43.7
ในปี 2557 เพิ่มเป็นร้อยละ 87.5 ในปี 2558 อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของประชาชนมีแนวโน้ม
ลดลงในช่วงถัดมา โดยในปี 2563 ความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรี อยู่ที่ร้อยละ 51.0 และเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยเป็นร้อยละ 57.7 ในปี 2564 และลดลงเหลือร้อยละ 40.5 ในปี 2565 ทั้งนี้ ความเชื่อมั่น
ต่อรัฐบาล/ครม. มีรูปแบบการเพิ่มขึ้นและลดลงที่สอดคล้องกันกับความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรี
โดยลดลงจาก ร้อยละ 78.8 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 42.3 ในปี 2563 และเพิ่มเป็นร้อยละ 47.9
ในปี 2564 และลดลงเหลือ ร้อยละ 36.6 ในปี 2565 ส่วนความเชื่อมั่นต่อพรรคการเมือง
ค่อนข้างคงที่และมีระดับความเชื่อมั่นต่ำกว่าร้อยละ 50 นับตั้งแต่ 2550 โดยในปี 2563
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันพรรคการเมือง อยู่ที่ร้อยละ 33.5 และเพิ่มเล็กน้อยในปี 2564 และลดลง
ในปีล่าสุด
1
สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร