Page 427 - kpiebook65063
P. 427
การดำเนินการนวัตกรรมในระยะที่สาม (พ.ศ.259-2563) ภายหลังจากการทำแก้มลิง
แห่งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 แล้ว การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดพื้นที่แก้มลิงเพิ่มขึ้นในพื้นที่ยังคงมี
อยู่อย่างต่อเนื่อง มีทั้งในส่วนของการเพิ่มเติมพื้นที่แก้มลิงในหมู่ที่ 7 และการทำแก้มลิงในพื้นที่
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ประชาชน และการขอบริจาคพื้นที่เพื่อที่จะทำแก้มลิง การสร้างความตระหนัก ความร่วมมือ
หมู่ที่ 11 เพิ่มเติม โดยผู้ใหญ่บ้านทั้งสองหมู่บ้านเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนระดมความเห็นจาก
ตลอดจนการเสียสละพื้นที่ของตนเองเพื่อประโยชน์ของสาธารณะเป็นกระบวนการที่มีการสื่อสาร
และดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งการผ่านการประชุมอย่างเป็นทางการ การเดินเข้าไปพูดคุย
ตามแหล่งศูนย์กลางของหมู่บ้าน หรือตามงานประเพณีหรืองานของชุมชนต่าง ๆ
“...มันก็ยากนะที่จะทำให้คนเขายอมเสียสละพื้นที่มาทำแก้มลิง เพราะเขา
ก็ไม่แน่ใจว่ามันจะคุ้มไหม...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7
“...อย่างน้อยก็ยังดีที่เราเห็นตัวอย่างจากหมู่ 7 และเห็นว่ามันเกิดประโยชน์
จริง ๆ ประชาชนก็เลยยอม”
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน
“ตอนทำความเข้าใจทั้งในเรื่องฝายและการทำแก้มลิง ก็มีความลำบากนะ
บางคนเข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจ เพราะเขากลัวผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหมือนกัน”
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน
“เห็นคนอื่นเขาได้น้ำก็อยากมีบ้างนะ เลยลองให้ที่ดินดู แล้วก็ได้ผลอยู่นะ
ดูสิ...”
เจ้าของที่ดินทำแก้มลิงหมู่ 7
“ตอนแรก ๆ ก็กลัว ๆ แต่พอทำแล้วมีน้ำใช้ ก็เห็นด้วยนะ...”
เจ้าของที่ดินทำแก้มลิงหมู่ 7
การเสียสละพื้นที่ส่วนตนเพื่อส่วนรวมไม่ใช่ความท้าทายเดียวที่ทางองค์การบริหาร
ส่วนตำบลนครชุม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และคณะกรรมการหมู่บ้านต้องเผชิญ แต่การบริหารจัดการ
1 สถาบันพระปกเกล้า