Page 426 - kpiebook65063
P. 426
“เราควรมีการกำหนดคนที่มาดูแลเรื่องแก้มลิงนะ เพราะคนที่เขาให้พื้นที่
เก็บน้ำ เขาเสียสละก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับเขาด้วย”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
“...เราก็กังวลว่าใครจะดูแลแก้มลิงถ้ามีปัญหา ถ้าอุปกรณ์พังจะทำอย่างไร
เอาเงินจากไหน...”
ประชาชนบริจาคพื้นที่ทำแก้มลิง ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ขั้นตอนโดยสรุปของการทำนวัตกรรมในระยะที่สองจะเห็นได้ว่ามีสามขั้นตอนที่มี
ความสำคัญคือขั้นตอนที่ 1 การขอรับงบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อนำมาจัดทำแก้มลิง
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าวคือทางองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมในการจัดทำ
คำของบประมาณและแสดงให้ถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่จะได้รับ ซึ่งงบประมาณที่ได้รับ
เป็นงบประมาณที่สนับสนุนเกี่ยวกับการจัดสร้างแก้มลิงไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน
เพื่อมาทำแก้มลิง ดังนั้นการขอรับบริจาคพื้นที่ทำแก้มลิงจึงเกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 2 การประชุมหารือ
เพื่อขอบริจาคพื้นที่ของชาวบ้านที่จะนำมาสร้างเป็นพื้นที่แก้มลิง การที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของ
ปริมาณน้ำในพื้นที่ตำบลนครชุมโดยการสร้างแก้มลิงนั้น พื้นที่ที่จะจัดทำเป็นแก้มลิงจะต้องอยู่ใน
พื้นที่ ซึ่งในพื้นที่ตำบลนครชุมเป็นพื้นที่ที่มีเจ้าของทั้งสิ้น ดังนั้นการจะสร้างแก้มลิงได้ต้องได้รับ
การบริจาคพื้นที่จากประชาชนในพื้นที่ซึ่งทำให้เกิดการจัดเวทีประชุมร่วมกันในพื้นที่หลายครั้ง
รวมถึงการทำความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ซึ่งจากการที่ชาวบ้านเป็นคนในพื้นที่ ความเชื่อถือ
ในตัวของผู้นำหมู่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้มีประชาชนบริจาคพื้นที่สร้างแก้มลิง
โดยเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่ตนเองเป็นเจ้าของ การดำเนินการก่อสร้างแก้มลิงจึงเกิดขึ้น และ
ขั้นตอนที่ 3 การระดมทรัพยากรทั้งในส่วนของงบประมาณและกำลังคนในการจัดการการใช้น้ำ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
และการบำรุงรักษา เมื่อทางพื้นที่มีความพร้อมทั้งงบประมาณและพื้นที่แล้วการสร้างแก้มลิง
ต้องใช้ความร่วมมือจากคนในพื้นที่ในการระดมกำลังคนในการก่อสร้าง ตลอดจนการหารือร่วมกัน
ในการปันส่วนน้ำ และการดูแลรักษา ซึ่งบทบาทสำคัญในการดำเนินงานในขึ้นตอนนี้คือ
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม เกษตรกรผู้บริจาคพื้นที่ ชาวบ้านในพื้นที่ และผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งภายหลังจากการมีแก้มลิงเกิดขึ้นทำให้ส่งผลให้เกษตรกรผู้บริจาคพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียง
สามารถสองรอบการผลิต ทำให้เกิดรายได้มากขึ้น ไม่ประสบภาวะน้ำแล้งและน้ำหลาก เกิดเป็น
แรงจูงใจให้เกษตรกรคนอื่นเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการบริจาคพื้นที่ของตนเพื่อทำ
แก้มลิงในระยะถัดมา
สถาบันพระปกเกล้า 1