Page 423 - kpiebook65063
P. 423
ของกรมป่าไม้ ดังนั้นการเข้าไปดำเนินการจึงจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองหน่วยงาน
ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่งมีข้อตกลงในการดำเนินงาน
ร่วมกันและได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ ซึ่งใน ปี พ.ศ. 2557 ทางองค์การบริหารส่วนตำบล
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม มีการทำความเข้าใจกับประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
นครชุมได้มีการจัดทำฝายมากกว่า 200 ตัว โดยอาศัยกำลังคนจากชาวบ้านหมู่ 7 และงบประมาณ
เกี่ยวกับการจัดการฝายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทรงธรรมเพราะในพื้นที่มีป่าชุมชน
บ้านคลองลึก และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองวังเจ้าและป่าคลองสวนหมาก เมื่อมีการดำเนินการ
จัดทำฝายแล้วทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และคณะกรรมการหมู่บ้านได้มีการหารือการดูแลฝายได้มี
การก่อตั้งเครือข่ายการดูแลฝายโดยประชาชน และมีองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม
เป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยหนุนเสริมในส่วนของทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินงาน
“ตอนนั้นคิดว่าถ้าเราไม่ดูแลใครจะมาดูแล และเราก็มีความหวังว่าถ้าเราดูแล
ฝายเราจะได้มีน้ำใช้ เราจะได้มีรายได้”
เครือข่ายอาสาดูแลฝาย
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
“การจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เราต้องร่วมมือกัน ทางหมู่ 7
พร้อมเป็นอาสาทำงาน”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7
กล่าวโดยสรุปคือในระยะที่หนึ่งสำหรับนวัตกรรมทุ่งสวนโมเดลเน้นที่การจัดทำฝาย
ร่วมกันระหว่างพื้นที่ที่รับผิดชอบร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมและ
องค์การบริหารส่วนตำบลทรงธรรม เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุนครชุม หน่วยฟื้นฟูป่าสวงแห่งชาติ
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 กรมป่าไม้ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และมหาวิทยาลัยราชภัฏ
กำแพงเพชร ในการร่วมกันสร้างฝายเพื่อทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการทำการเกษตร
ในพื้นที่ แต่จากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ได้กล่าวไว้ในส่วนต้น การเข้าไปสร้างฝายอยู่ใน
เขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทรงธรรมและเขตป่าสงวนแห่งชาติ การเข้ามาหารือและ
ดำเนินการร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และประชาชนทั้งสองพื้นที่ได้เข้ามาสร้างฝายร่วมกัน
ตลอดจนการสร้างเครือข่ายดูแลฝายร่วมกัน ดังนั้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเกิดตั้งแต่
การหารือร่วมกัน การออกแบบการทำงานร่วมกัน การร่วมสร้างฝาย การระดมทรัพยากรร่วมกัน
และการสร้างเครือข่ายดูแลฝายร่วมกัน
12 สถาบันพระปกเกล้า