Page 26 - kpiebook65063
P. 26

ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกรณีศึกษาแบ่งออกเป็น

               3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่หนึ่ง: ความเป็นมา ส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและ
               การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแสดงให้เห็นถึงบริบทของพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับ

               การจัดบริการสาธารณะหรือนวัตกรรมที่เป็นกรณีศึกษา รวมถึงวิเคราะห์สภาพปัญหาหรือต้นทุน
               ในพื้นที่อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การจัดบริการสาธารณะหรือนวัตกรรมที่เป็นกรณีศึกษา
               ส่วนที่สอง: กระบวนการดำเนินงาน ส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้น

               กระทั่งสิ้นสุด และวิเคราะห์บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เข้ามา
               มีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนตลอดจนทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน และส่วนที่สาม: ผลสำเร็จและ  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปริมาณหริอ
               เชิงคุณภาพ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ความยั่งยืนและการต่อยอด ปัญหาและ
               อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานและแนวทางที่ได้ใช้ในการแก้ไขปัญหา และปัจจัยความสำเร็จ

               ทั้งภายในและภายนอกองค์กร


               6.   ประโยชน์ที่ได้รับ


                     1. ตัวอย่างการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่นหรือตัวอย่างนวัตกรรมบริการสาธารณะใน

               4 ด้าน ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเปราะบาง
               ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และด้านการจัดการน้ำ ซึ่งการจัดบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ

               เหล่านี้เป็นภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19 และท้าทาย
               มากยิ่งขึ้นภายหลังวิกฤตโควิด-19

                     2. ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวม ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ทบทวน ปรับปรุง และ
               พัฒนาการจัดบริการสาธารณะของตนได้ต่อไป                                                  ส่วนที่ 1 บทนำ


                     3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง
               เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตนเพื่อให้เกิดการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิผล


                     4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปได้รับแรงบันดาลใจหรือได้รับการจุดประกายความคิด
               ในการจัดบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน รวมถึง
               การสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณะที่ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
               ประชากรกลุ่มเปราะบาง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และด้านการจัดการน้ำ






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   1
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31