Page 24 - kpiebook65063
P. 24
5. ระเบียบวิธีวิจัย
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการสัมภาษณ์
และการสนทนากลุ่ม และเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่
1.1) ผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงนายกฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็น ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
กรณีศึกษา
1.2) ปลัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา
1.3) ผู้อำนวยการของกอง/ฝ่ายที่รับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะหรือนวัตกรรม
ที่เป็นกรณีศึกษา
1.4) เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับผิดชอบการจัดบริการสาธารณะ
หรือนวัตกรรมการจัดบริการสาธารณะที่เป็นกรณีศึกษา
2. วิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และ
เก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ
นักวิจัยเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่น และการสนทนา
กลุ่มร่วมกับปลัด ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนักวิจัยสัมภาษณ์ ส่วนที่ 1 บทนำ
ผู้บริหารท้องถิ่นหรือนายกฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
(Semi-structured interview) เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และนโยบายในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาท้องถิ่น ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน และแนวคิดต่อยอดในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาท้องถิ่น สำหรับการสนทนากลุ่มร่วมกับปลัด ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของการจัดบริการสาธารณะ
ที่โดดเด่นหรือนวัตกรรมการจัดบริการสาธารณะที่เป็นกรณีศึกษาในประเด็นต่าง ๆ กล่าวคือ
ความเป็นมาหรือจุดเริ่มต้น วัตถุประสงค์และเป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวน
การดำเนินงาน บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทบาทของภาคส่วนอื่น ๆ ที่เข้ามามี
สถาบันพระปกเกล้า 1