Page 153 - kpiebook65063
P. 153
นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เป็นจุดเริ่มต้นในการทำการสำรวจข้อมูลในระดับชุมชนของ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน โดยทางงานพัฒนาชุมชนเริ่มทำการเดินสำรวจบ้านต่อบ้าน
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น แต่กลับพบว่าใน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ทำงานไม่มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในตอนกลางวัน เมื่อได้สอบถามข้อเท็จจริงพบว่าเนื่องจากผู้สูงอายุ
ครอบครัวหนึ่งที่มีผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมถูกขังไว้ในบ้าน ทั้งนี้คนในครอบครัวต้องออกไป
หลงลืมและมักเดินออกไปข้างนอกและจำทางกลับไม่ได้ ดังนั้นการขังไว้ในบ้านจึงเป็นทางเลือก
เดียวที่สามารถทำได้ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัยที่สุด
“...ตอนเดินเข้าไปในบ้านได้ยินเหมือนมีเสียงคนอยู่นะ แต่บ้านปิดหมด พี่เลย
เดินไปบ้านข้างๆ แต่ก็ไม่มีคนอยู่ พี่เลยกลับไปอีกทีตอนเย็น...”
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นอกจากประเด็นของผู้สูงอายุที่ถูกขังไว้ในบ้านแล้ว สิ่งที่ได้จากการทำการสำรวจข้อมูล
ระดับครัวเรือนคือการแพร่กระจายของยาเสพติดในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดกาว ทำให้
ครอบครัวมีความแตกแยก เด็กเยาวชนไม่อยากอยู่บ้าน และเกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
แม่บ้านส่วนใหญ่ก็อดทนอยู่เพราะยึดถือในค่านิยมที่ชายเป็นใหญ่ ยอมรับกับชะตากรรมที่เกิดขึ้น
และมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาในสังคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้
เด็กเยาวชนหาทางออกโดยใช้ยาเสพติด และการเล่นเกมส์ กลายเป็นเด็กติดเกมส์ ทำให้ช่องว่าง
ระหว่างช่วงวัยระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น
“...เวลาหลานพูดกับปู่ย่าตายาย เขาใช้พูดแบบห้วน ๆ ตะคอก...พอถามเขา
ก็บอกว่าปู่ย่าตายายไม่เคยเข้าใจ...”
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ
“...เวลากินข้าว ตอนนั้นแม่ก็กินข้าวแยกกันนะ คือต่างคนต่างกิน เพราะเขา
มัวแต่เล่นเกมส์ แม่ต้องรีบไปทำงาน”
ผู้ปกครอง
“...ก็พ่อกับแม่พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เอาแต่ดุ...”
เยาวชน
1 2 สถาบันพระปกเกล้า