Page 150 - kpiebook65063
P. 150
จากตารางสามารถเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 51-60, ช่วงอายุ 61-70 ปี
และ ช่วงอายุ 61-70 ปี ตามลำดับ และประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กระเทียม พริก ยาสูบ ถั่วเหลือง อาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ กลุ่มเย็บผ้าด้นมือ
กลุ่มจักสาน กระดาษสา
โดยสภาพทางสังคมของตำบลบ้านหนุนในด้านสุขภาพ จะมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนุน เพื่อให้บริการด้านสุขภาพ
และในส่วนของด้านการศึกษา จะประกอบไปด้วยสถานศึกษาตำบล จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ตารางแสดงสถานศึกษาตำบลบ้านหนุน
จำนวน จำนวน
ที่ ชื่อสถานศึกษา สังกัด
ครู นักเรียน
1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. บ้านหนุน 2 50
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน (บ้านหนุนใต้)
2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. บ้านหนุน 2 40
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน (บ้านลอง)
3 โรงเรียนชุมชนบ้านหนุนเหนือ สพฐ. - 100
4 โรงเรียนบ้านลอง สพฐ. - 120
5 โรงเรียนสองพิทยาคม สพฐ. - -
6 วิทยาลัยการอาชีพสอง กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 57 -
นอกจากนั้นบริบทที่สำคัญของพื้นที่ตำบลบ้านหนุนคือการที่มีสภาพสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท
ที่ทำให้การเข้ามาของระบบทุนนิยมส่งผลต่อเยาวชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กติดเกมส์ จำนวน
ของคุณแม่วัยใสที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการที่มีจำนวนประชากรในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวนมาก
การเข้าไปทำงานในเมืองของคนวัยทำงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอยู่กับเด็ก ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ซึ่งความแตกต่างระหว่างช่วงวัยดังกล่าวทำให้การสื่อสารภายในครอบครัวค่อนข้างน้อย ประกอบกับ
ความเข้าใจของผู้สูงอายุกับในการใช้เทคโนโลยีมีน้อย ทำให้มีการปล่อยให้เด็กมีอิสระในการเข้าถึง
สื่อออนไลน์โดยไม่ได้มีการควบคุมทำให้จำนวนเด็กติดเกมส์เพิ่มมากขึ้นและสำหรับสภาพสังคม
กึ่งเมืองกึ่งชนบทยังมีการให้ความสำคัญระหว่างบทบาทของผู้ชายและผู้หญิงในสังคมที่ยังคงเน้น
ที่ชายเป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลครอบครัว การยอมรับถึงการใช้อำนาจของผู้ชาย
ในครัวเรือนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและสิทธิของสตรี
ในสังคมยังไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างทั่วถึงในระดับครัวเรือน
สถาบันพระปกเกล้า 1 9