Page 127 - kpiebook65063
P. 127
ยังคงมีการพัฒนาโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทางเทศบาลยังเห็นว่าการจัดบริการ
สาธารณะที่มีอยู่ยังไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุในบางกลุ่ม จำนวน
ประชากรแฝงเข้ามาเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือการที่ประชาชนย้ายเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลตำบล
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและต้องการได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
แม่สะเรียงแต่ไม่ได้มีการย้ายทะเบียนบ้านมาแต่เข้าอยู่ ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุที่ยังคงเพิ่มขึ้น
“ตั้งแต่มีโครงการ STC มาผู้สูงอายุได้รับประโยชน์อย่างต่อเนื่องแต่ตอนนี้
ความต้องการการเข้าถึงบริการที่เทศบาลจัดให้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และบริการ
สาธารณะที่ตอบสนองสำหรับบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านที่เป็น
ผู้สูงอายุที่มีความรู้ ”
บุคลากรของเทศบาล
“เราพยายามชวนผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน แต่มีสภาพร่างกายที่พร้อม และ
มีความรู้มาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อให้มีกิจกรรมทางสังคม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เท่าไหร่นัก เราจึงต้องหาทางอื่นเพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณะที่ทาง
เทศบาลจัดขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นด้วย”
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
หัวหน้าสำนักปลัด
นอกจากการที่เทศบาลจะพยายามจัดบริการสาธารณะให้สามารถตอบสนองต่อผู้สูงอายุ
แต่ในปี พ.ศ. 2560-2562 ทางเทศบาลได้มีการจัดการประชุมระดมความเห็นของทีมงานในการดูแล
ผู้สูงอายุถึงปัญหา อุปสรรค และจุดที่ควรพัฒนาของการดำเนินงานในพื้นที่ของโครงการ STC
ซึ่งทำให้เกิดการปรับปรุงป้ายข้อมูลผู้สูงอายุที่ติดตั้งในชุมชน โดยมีการปรับเปลี่ยนสี เพิ่มเติม
ข้อมูลตำแหน่งที่ปรึกษาทั่วไป และมีการเพิ่มเติมเบอร์โทรศัพท์ของเทศบาลตำบลแม่สะเรียง
และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแม่สะเรียง นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนจากธงเป็นป้าย
เพราะธงชำรุดได้ง่ายกว่าแผ่นป้ายไม่ว่าจะเป็นราจากน้ำฝนหรือการหลุดจากก้านธง
“เราเพิ่มเบอร์ไว้สำหรับการให้บริการทั่วไป เพราะบางทีอาสาในชุมชนไม่สามารถ
ตัดสินใจว่าควรโทรหาใคร เพราะบางเรื่องมันดูเหมือนก้ำกึ่ง การมีเบอร์ติดต่อ
สำหรับให้คำปรึกษาทั่วไปทำให้สะดวกขึ้น เพราะบางทีผู้ที่อยู่อาศัยข้างเคียงผู้สูงอายุ
สามารถใช้เบอร์ดังกล่าวแจ้งเหตุได้ทันที”
บุคลากรของเทศบาล
11 สถาบันพระปกเกล้า