Page 196 - kpiebook65062
P. 196
โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่
โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่ ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางกระบือ เป็นธุรกิจที่พระยา
ภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ดำริขึ้นในพ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยแต่เดิมท่านมีกิจการเรือโดยสารระหว่าง
พระนครกับฝั่งธนบุรี แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลกำลังสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพื่อเชื่อมสองฝั่ง
เข้าด้วยกัน จึงดำริตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์ขึ้น โดยยื่นขออนุญาตต่อทางการ ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ จากนั้น
จึงได้เดินทางไปศึกษาดูงานการตั้งโรงงานทำเบียร์ ผลิต และจำหน่ายเบียร์ ทั้งในเมืองไซ่ง่อนและ
ในทวีปยุโรป จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้เช่าที่ดินที่ของเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ)
ที่บางกระบือ ซึ่งเป็นโรงสีไฟเก่า แล้วว่าจ้างให้บริษัทคริสเตียนีและนีลเสน (Christiani & Nielsen Co.)
ออกแบบโรงงานเบียร์ โดยมีนายช่างชาวเยอรมันควบคุมการติดตั้งเครื่องจักรผลิตเบียร์ซึ่งนำเข้าจาก
ประเทศเยอรมนี โดยรัชกาลที่ ๗ ทรงสนพระทัย ทรงช่วยซื้อหุ้นในบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ และเสด็จ
๔๔
พระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้างโรงเบียร์ถึงสองครั้ง ใน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยที่โรงงานเริ่ม
๔๕
ผลิตเบียร์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นมา โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่เป็นอาคาร
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จัดวางกลุ่มอาคารตามสายงานการผลิต โดยแยกอาคารที่ผลิตเบียร์ น้ำหวาน
และโซดาออกจากกัน อาคารโรงงานผลิตเบียร์เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๖ ชั้น
หลังคาแบน มีหน้าต่างกว้างและสูงใหญ่ ไม่มีชายคา ทำให้ดูทันสมัย ส่วนอาคารอื่น ๆ บางหลัง
มีหลังคาโค้งประทุน แต่ทำผนัง (parapet) บังมิให้เห็น ด้วยประสงค์ให้โรงงานดูทันสมัย สะอาด
และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี อาคารหลัก ๆ ในบริเวณโรงงานยังคงเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบ
อาร์ต เดโค (Art Deco) บางประการ เช่น คิ้วบัว บัวยอดผนัง หรือการทำเสาเก็จ (pilaster) แบนแนบ
กับผนังอาคารทางตั้ง เพื่อให้อาคารดูสูงสง่า เป็นต้น
ภาพโรงเบียร์บุญรอดในหัวกระดาษบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่.
18