Page 16 - kpiebook65062
P. 16
สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๗ ขึ้น โดยวิเคราะห์บริบทของงานสถาปัตยกรรมในช่วงรัชสมัย ได้แก่
การสร้างงานสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน ในการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้า
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการบูรณะพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รูปแบบสถาปัตยกรรมพักอาศัย
ได้แก่ วังไกลกังวล ตำหนักในวังสระปทุม และบ้านเรือนราษฏร สถาปัตยกรรมศาสนสถาน
คือพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ และการสร้างอาคารสาธารณะ ได้แก่ โฮเต็ลรถไฟหัวหิน และ
๓
ศาลาเฉลิมกรุง ทั้งนี้ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ได้นำเสนอข้อเขียนดังกล่าวในการประชุม
ทางวิชาการเนื่องในวโรกาส ๑๐๐ ปี พระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงมีการตีพิมพ์เอกสารนั้นขึ้นเป็นครั้งแรก
๔
ในเวลาต่อมา มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับพัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทยที่สำคัญสองเรื่อง คือ
หนังสือ พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจจุบัน และอนาคต
๕
โดยศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ (๒๕๓๖) และ สถาปนิกสยาม : พื้นฐาน บทบาท
๖
ผลงานและแนวคิด (พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๗) โดยศาสตราจารย์ผุสดี ทิพทัส (๒๕๓๙) ผลงานวิชาการ
ทั้งสองเรื่องกล่าวถึงพัฒนาการสถาปัตยกรรมไทยโดยใช้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
เป็นขอบเขตเชิงเวลา แต่ก็มีเนื้อหาที่กล่าวถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
ตลอดจนลักษณะการประกอบวิชาชีพสถาปนิก รูปแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีมาก่อหน้านั้นอย่างสังเขป
จึงมีเนื้อหาครอบคลุมถึงความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ อยู่ไม่มากนัก
สำหรับงานวิชาการในช่วงต่อมา ที่กล่าวถึงสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้แก่หนังสือ
การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม โดยอาจารย์ชาตรี
ประกิตนนทการ (๒๕๔๗) อันเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยในขอบเขตเวลาที่ยาว คือ
ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่มุ่งเน้นที่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง
ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคม การเมือง กับสถาปัตยกรรมที่สำคัญในแต่ละยุค ผลงานของ
๗
อาจารย์ชาตรีมีอิทธิพลในการเปิดมุมมองใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ทว่าในแง่
ของพัฒนาการสถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๗ นั้น การวิเคราะห์ยังคงจำกัดอยู่บนตัวอย่างอาคาร
ที่สำคัญเพียงสองหลัง คือปฐมบรมราชานุสรณ์ และศาลาเฉลิมกรุง เท่านั้น
ผลงานวิชาการที่สำคัญอีกเล่มหนึ่ง คือหนังสือ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาล
๘
ที่ ๔ - พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยรองศาสตราจารย์สมชาติ จึงสิริอารักษ์ (๒๕๕๓) หนังสือดังกล่าววิเคราะห์
อาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในสยาม ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ และต่อเนื่องถึง
พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยแบ่งการวิเคราะห์ตามช่วงรัชกาลเป็นหลัก จากนั้นในแต่ละช่วงจึงแบ่งกลุ่มอาคาร