Page 14 - kpiebook65062
P. 14

บทนำ










                            รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗) เป็นช่วงทศวรรษ
                      ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากในสถาปัตยกรรมไทย ทั้งพัฒนาการวิชาชีพสถาปัตยกรรม

                      แนวความคิดในการออกกฎหมายควบคุมอาคารและการวางผังเมือง พัฒนาการในเทคนิควิทยาการ
                      ก่อสร้าง ตลอดจนรูปแบบสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ ทั้งอาคารสาธารณะ อาคารพักอาศัย และ
                      ศาสนสถาน ที่สะท้อนถึงบริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงเวลาเพียงสิบปี

                      แห่งรัชสมัย  และมีผลกระทบสืบเนื่องอย่างลึกซึ้งยาวนานมาจนปัจจุบัน

                            หนังสือ สถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าฯ พัฒนาต่อยอดมาจากงานวิจัยเรื่อง พัฒนาการ

                      สถาปัตยกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  (พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗)
                      โดยการสนับสนุนของสถาบันพระปกเกล้า มุ่งศึกษางานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัย ให้เห็น
                      พลวัตของความเปลี่ยนแปลง ทั้งในความต้องการเชิงหน้าที่ใช้สอย รูปแบบ ผู้ออกแบบ เทคนิควิทยา

                      การก่อสร้าง  ที่เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทของสังคมร่วมสมัย การขยายตัวของเมือง การก่อตัวของวิชาชีพ
                      สถาปัตยกรรม ตลอดจนชีวิตเมืองสมัยใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าสู่สมัยใหม่

                      (Modernization) ของสยาม

                            ข้อจำกัดสำคัญในการศึกษาสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวที่ผ่านมา คือการผูกมัด
                      ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง กับพัฒนาการในสถาปัตยกรรมไทย ทำให้ปี พ.ศ. ๒๔๗๕

                      กลายเป็นเส้นแบ่งในจินตภาพของสถาปัตยกรรมก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                      สถาปัตยกรรรมในช่วงสิบปีแห่งรัชสมัยกลายเป็นเพียงภาพสะท้อนของ “อวสานแห่ง

                      สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลก่อน และต่างไปจาก “สถาปัตยกรรมคณะราษฎร”
                      ในสมัยต่อมา อันเป็นลักษณะของทวิวิภาคเทียม (false dichotomy) ที่ละเลยปัจจัยอื่นๆ อันเป็น
                      บริบทของสถาปัตยกรรมในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปอย่างน่าเสียดาย


                            หนังสือเล่มนี้หลีกเลี่ยงลักษณะทวิวิภาคเทียมดังกล่าว โดยให้สถาปัตยกรรมและ
                      ความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมเป็นกรอบในการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

                      สังคม การเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมในช่วงรัชสมัย  สถาปัตยกรรมช่วยสะท้อนให้เห็นพลวัต
                      ของสังคมในครั้งนั้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่ามีความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19