Page 7 - kpiebook65057
P. 7

ของการเมืองภาคพลเมือง พ.ศ. 2540 – 2549 7) ยุคประชาธิปไตยถดถอย พ.ศ.2550
             – 2560  และ 8) ยุคการเมืองของคนรุ่นใหม่และการเฟื้้�องฟืู้ของเทคโนโลยีการสื่อสาร
             พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำฉากทัศน์ในการมองอนาคตการเมือง

             ภาคพลเมืองไทย 2 ส่วน คือ ฉากทัศน์ความเป็นพลเมืองและฉากทัศน์การเมือง
             ภาคพลเมือง ในส่วนของฉากทัศน์ความเป็นพลเมือง สามารถจำแนกออกเป็น

             4 ฉากทัศน์ย่อย ได้แก่ 1) พลเมืองที่ไม่สนใจการเมือง 2) พลเมืองแบบตั้งเดิม
             3) พลเมืองที่มีสำนึกผูกพัน และ 4) พลเมืองดิจิทัล ส่วนฉากทัศน์การเมืองภาค
             พลเมืองจำแนกออกเป็น 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ 1) การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยรัฐบาล

             2) การเมืองภาคพลเมืองที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน  3) การเมืองภาคพลเมือง
             ที่นำโดยพลเมืองและ 4) การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยภาคเอกชน ทั้งนี้ผลการศึกษา

             ความสัมพันธ์ของความเป็นพลเมืองและการเมืองภาคพลเมือง พบว่า ลักษณะ
             ของความเป็นพลเมืองมีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองขณะเดียวกันการเมือง
             ภาคพลเมืองก็มีผลต่อความเป็นพลเมืองเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้จัดทำ

             ข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางเพื่อการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และพัฒนาไปสู่
             การเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา คือ การเสริมสร้างคุณภาพพลเมือง การส่งเสริม

             กิจกรรมการเมืองภาคพลเมือง การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนไป
             สู่การเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา และข้อเสนอแนะเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็น
             อุปสรรคต่อการมุ่งไปสู่การเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา คือ 1) ลดความเสี่ยง

             ที่อาจเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง 2) ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจาก
             โครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ 3) ลดความเสี่ยง

             ที่อาจเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร 4) ลดความเสี่ยงที่อาจเกิด
             จากการศึกษาที่ล้าหลัง 5) ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่านิยม
             ทางการเมือง 6) ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

             และ 7) ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่ส่งผลกระทบ
             ต่อประชาชน











                                               VI
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12