Page 82 - kpiebook65043
P. 82

2   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           กล่าวนำ


                 ประชาธิปไตยเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายมาทุกยุคทุกสมัย จนอาจ
           กล่าวได้ว่าไม่มียุคใดที่ประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้โดยปราศจากการแข่งขันจากอุดมการณ์
           ทางการเมืองของลัทธิอนุรักษ์นิยมของกลุ่มการเมืองปีกขวา บางทีเราอาจจะต้องยอมรับว่า
           การแข่งขันของสองอุดมการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติทางธรรมชาติ ซึ่งสำหรับในระดับของ

           เวทีการเมืองโลกแล้ว การแข่งขันดังกล่าวปรากฏให้เห็นจากความท้าทายของลัทธิประชานิยม
           (Populism) ที่เกิดมาตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และสำหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นั้น
           ฝ่ายขวามีลักษณะที่เป็น “ประชานิยมปีกขวา” (Right-Wing Populism) จนอาจกล่าวได้ว่า

           ในยุคเช่นนี้ไม่มีใครมีฐานะเป็นผู้ท้าทายประชาธิปไตยได้มากกว่าอดีตผู้นำสหรัฐอเมริกาคือ
           ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์

                 การขึ้นสู่อำนาจที่ทำเนียบขาวของทรัมป์ด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งในปลายปี 2559
           กลายเป็นข้อเรียกร้องให้ฝ่ายเสรีนิยมต้องทบทวนเรื่องประชาธิปไตยกันใหม่ แม้ว่าในที่สุดแล้ว

           เขาจะพ่ายแพ้ต่อการเลือกตั้งในปลายปี 2563 แต่ก็มิใช่คำตอบว่า มรดกทางการเมืองของ
           ลัทธิประชานิยมปีกขวาจะจบตามไปกับความพ่ายแพ้ของทรัมป์ แต่เรากลับเห็นแนวคิด
           ในลักษณะเช่นนี้ขยายตัวอยู่ในหลายประเทศ ทั้งในยุโรปและเอเชีย

                 ในขณะที่ฝ่ายขวาในเวทีโลกก่อตัวในแบบที่เป็นประชานิยม เช่นในตัวแบบของทรัมป์

           อันเป็นความท้าทายอย่างสำคัญต่อประชาธิปไตยตะวันตก ประชาธิปไตยไทยก็เผชิญกับ
           ความท้าทายเช่นเดียวกัน หากแต่ด้วยบริบทของการเมืองแบบประเทศ “โลกที่สาม” นั้น
           ความท้าทายยังคงเป็นเรื่องเก่าคือ การต่อสู้ระหว่าง “ทหาร vs พลเรือน” และการต่อสู้เช่นนี้
           มักจะลงเอยด้วยการรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง จนการยึดอำนาจ

           ของทหารกลายเป็นคุณลักษณะเด่นของการเมืองไทย แม้การเมืองจะก้าวเข้าสู่โลกของศตวรรษ
           ที่ 21 การแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพไทยยังดำรงอยู่เป็นปรากฏการณ์ปกติ ซึ่งอาจจะ
           ไม่แตกต่างจากการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ที่ผู้นำกองทัพสถาปนาตนเองเป็น
           “ผู้พิทักษ์แห่งชาติ” (National Guardian) หรือโดยนัยคือ “ผู้นำทหารเท่านั้นคือผู้ปกครอง

           ประเทศ”
     การแสดงปาฐกถานำ   ดังต่อไปนี้
                 ด้วยสภาวะเช่นนี้ ทำให้เราอาจตั้งข้อสังเกตกับ “ภูมิทัศน์ของประชาธิปไตยไทย” ได้



           สองแนวทาง-สองอุดมการณ์


                 1) ถ้าเราต้องการมองไปสู่อนาคต เราคงต้องยอมถอยหลังกลับมาใคร่ครวญกับ

           สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เท่า ๆ กับที่ต้องย้อนพินิจอดีตของการเมืองไทยคู่ขนานกันไป
           เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความคลี่คลายในบริบทของประวัติศาสตร์การเมือง ดังจะเห็นได้ว่า
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87