Page 50 - kpiebook65034
P. 50
49
7. กำรจัดท�ำตัวชี้วัด
การมีตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมจะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทาง
ในการบริหารการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย และน�าไปสู่การมีส่วนร่วม
ที่มีประสิทธิผล ยังช่วยให้ผู้ก�าหนดนโยบาย นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้ตัดสินใจ และผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ในการพัฒนาความเข้าใจของแนวคิด
พื้นฐาน และแนวปฏิบัติที่ดีในการมีส่วนร่วม สร้างความคุ้นเคยกับเครื่องมือ
ที่จะน�าไปสู่การใช้เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล และ
เกิดความตระหนักถึงการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ภายใต้สภาวการณ์
ที่แตกต่างกัน เกิดมีกลยุทธ์ในการประเมินประสิทธิผลในการมีส่วนร่วม
ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจที่แท้จริงว่า การมีส่วนร่วมคืออะไร และเข้าใจถึง
ความส�าคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ตลอดจนเข้าใจ
หลักการพื้นฐานและผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วย
การจัดท�าตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมได้พิจารณาปรับปรุงจากตัวชี้วัด
ที่พัฒนาโดยสถาบันพระปกเกล้า (2558) และปรับให้สอดคล้องกับบริบท
ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการน�าเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในกระบวนการ
มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่กว้างขวาง และครอบคลุมกลุ่มต่างๆ
ได้มากขึ้น ทั้งนี้การจัดท�าตัวชี้วัดนี้จะเป็นการประเมินการท�างานด้าน
การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการพิจารณาหลักการ
ของการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักธรรมาภิบาลซึ่งล้วนมี
ความสัมพันธ์กัน และน�าไปใช้ในการยกระดับการยบริการสาธารณะ