Page 52 - kpiebook65034
P. 52

51


              กรอบในการจัดท�าตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม


                       จุดมุ่งหมายของการจัดท�าตัวชี้วัดอีกประการหนึ่ง คือ ต้องการ

              ให้เสริมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันมากกว่าการมีส่วนร่วมที่ผิวเผิน
              (ที่ประชาชนเป็นเพียงองค์ประกอบของกระบวนการ หรือเพียงรับรู้) และ

              ไม่น�าไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาแต่อย่างใด แต่กลายเป็นการมีส่วนร่วม
              ที่สร้างความชอบธรรมให้กับเจ้าของโครงการ หรือเจ้าของนโยบายนั้น
              ในที่สุดก็อาจเกิดความขัดแย้งหรือสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่คุ้มค่าเลย


                       ดังนั้น ในกระบวนการของการมีส่วนร่วมจึงต้องมีการวางแผน
              ซึ่งค�านึงถึงบริบทของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ รวมถึงสังคมวัฒนธรรม

              ภูมิรัฐศาสตร์ สภาพทางการเมืองของพื้นที่ ความพร้อม ศักยภาพ
              ในการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆ รวมทั้งศักยภาพและสมรรถนะ

              ของเจ้าหน้าที่ที่จะจัดกิจกรรมนี้ด้วย

                       ในการพิจารณาการจัดท�าตัวชี้วัด ต้องค�านึงถึงหลักการที่

              ส�าคัญคือ ความเสมอภาคของทุกคน อิสรภาพในการเข้ามามีส่วนร่วม
              ความสามารถและจิตสาธารณะของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม

                       ตัวชี้วัดนี้จะสะท้อนถึงความตั้งใจและจริงใจของการจัด

              กิจกรรมการมีส่วนร่วม โดยพิจารณาจากการออกแบบการมีส่วนร่วม
              หรือการปรับรูปแบบการมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม
              ส่วนการมีส่วนร่วมนั้นอาจจะมีการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมหลายครั้ง

              หลายพื้นที่ และมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ
              การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ที่จะสะท้อนถึงการมีส่วนร่วม ที่อาจท�าให้เกิด

              การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น หรือจะเป็นการมีส่วนร่วมอย่างเฉยชา
              และท�าให้ประชาชนไม่รู้สึกกระตือรือร้น และไม่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
              อันน�ามาสู่ความล้มเหลวของการมีส่วนร่วม เพราะไม่เกิดประสิทธิผลของ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57