Page 19 - kpiebook65030
P. 19
18 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
1. หลักประชาธิปไตยอันมีความชอบธรรม เพราะประชาธิปไตย
ไม่ได้มีเพียงการเลือกตั้ง หากแต่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมายังมีหน้าที่สำาคัญยิ่ง
ในการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอีกด้วย
2. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดียิ่งกว่า เนื่องจากแต่ละประเทศ
มีความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ปัญหาและความหวังที่ต่างกัน
เช่นนั้นแล้วในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงจำาเป็นที่ชนชั้นนำาผู้มีอำานาจ
ในการร่างรัฐธรรมนูญต้องมาทำาความเข้าใจในปัญหาที่ประชาชนกำาลังเผชิญ
และเข้าใจความคาดหวังที่พลเมืองของชาตินั้นมุ่งหวัง
3. การบังคับใช้กฎหมายที่ดีขึ้น โดยเพิ่มบทบาทของประชาชน
ในการมีส่วนร่วมสะท้อนเสียงของพวกเขาที่มีต่อกฎหมายและการบังคับใช้
กฎหมายของรัฐบาลให้เป็นไปสอดคล้องกับประโยชน์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
4. การเสริมแกร่งความเป็นประชาธิปไตยของพลเมือง ด้วยการให้
พลเมืองเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้
พลเมืองเข้าใจความสำาคัญและขั้นตอนการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตย
มากขึ้น เช่นเดียวกับการเข้าใจความเป็นจริงของการทำางานทางการเมือง อันส่งผล
ให้พลเมืองทำาหน้าที่จับตานักการเมืองให้ทำาหน้าที่อย่างโปร่งใสและมีจริยธรรม
ในการทำางานด้านการเมืองตามอุดมคติ
5. การพัฒนาฉันทานุมัติของสังคม ขั้นตอนนี้สำาคัญที่สุดสำาหรับ
กระบวนการออกแบบรัฐธรรมนูญ เพราะว่าสิ่งแรกเริ่มที่จำาเป็นที่สุดคือ ต้อง
เห็นต่างกันได้ภายใต้หลักการไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้คนที่คิดต่าง หากทั้งสองฝ่าย
หยุดยั้งความรุนแรงที่มีต่อกันได้แล้วจึงจะนำามาสู่หลักรัฐธรรมนูญนิยมที่เป็นไป
ได้มากยิ่งขึ้นในการเริ่มต้นเปิดทางสู่การมีฉันทามติร่วมกัน