Page 382 - kpiebook65024
P. 382
381
บทส่งท้าย
จากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ได้มีการเสนอเกี่ยวกับกระบวนการได้มาซึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
วิธีที่หนึ่ง การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งโดยให้มีคณะกรรมการสรรหาชุดหนึ่ง
เพื่อด�าเนินการสรรหาบุคคลในชั้นต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายก�าหนด
แล้วเสนอให้คณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง ซึ่งจะประกอบด้วยบุคคลที่เคยด�ารงต�าแหน่ง
ทางฝ่ายบริหาร (อดีตนายกรัฐมนตรี) ฝ่ายนิติบัญญัติ (อดีตประธานรัฐสภา) และ
ฝ่ายตุลาการ (อดีตประธานศาลฎีกาหรืออดีตประธานศาลปกครองสูงสุด) ท�าหน้าที่
ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ และสมาชิก
วุฒิสภาที่ได้มาโดยกระบวนการตามวิธีนี้ไม่ควรมีอ�านาจในการถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่ง
ทางการเมืองออกจากต�าแหน่ง เพราะไม่ได้มีที่มาจากเสียงของประชาชน
วิธีที่สอง การเลือกตั้งโดยอ้อม โดยพิจารณาแนวทางในลักษณะท�านองเดียวกับ
การเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกากรณีการเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral
Votes) โดยก�าหนดเขตเลือกตั้งให้ใหญ่ขึ้น และในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาได้มาโดย
กระบวนการตามวิธีนี้อาจก�าหนดให้มีอ�านาจในการถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง
ออกจากต�าแหน่งด้วย เพราะเป็นการได้มาจากเสียงของประชาชนรูปแบบหนึ่ง
วิธีที่ส�ม ควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยตรง และไม่ควรสังกัด
พรรคการเมืองแต่สามารถหาเสียงได้อย่างไรก็ตาม การที่จะก�าหนดให้มีฝ่ายนิติบัญญัติ
ของไทยเป็นระบบสภาคู่หรือสภาเดี่ยว หรือไม่นั้น เมื่อพิจารณาบริบทของสังคมไทย
ประกอบกับพิจารณาต้นแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของต่างประเทศ
ที่ใช้ระบบรัฐสภา ล้วนแต่ให้ความส�าคัญกับระบบที่เป็นสภาคู่หรือระบบสองสภาทั้งสิ้น