Page 387 - kpiebook65024
P. 387
386 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ไว้โดยเฉพาะ ซึ่งตามปกติจะมีวิธีการแก้ไขใน 2 ระดับ คือ สามารถแก้ไขได้ง่าย หรือ
แก้ไขได้ยาก แต่ส่วนใหญ่หลายประเทศมักจะก�าหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น
ท�าได้ยากเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอ�านาจกระท�าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนั้นได้
ตามอ�าเภอใจเพื่อประโยชน์ต่อบุคคลเพียงบางกลุ่มซึ่งจะเป็นหลักประกันสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในต่างประเทศส่วนใหญ่แล้ว มักจะก�าหนด
ให้องค์กรนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีที่มาจากประชาชน เป็นองค์กรที่มี
อ�านาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากแนวความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย
ถือว่า รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคมและจะมีความชอบธรรมต่อเมื่อรัฐธรรมนูญนั้น
มีที่มาจากประชาชน ดังนั้น การให้ผู้แทนของปวงชนเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการแก้ไข
รัฐธรรมนูญจึงเป็นหลักการที่ชอบด้วยเหตุผลและจะท�าให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
นั้นมีความเชื่อมโยงกับประชาชน (ชมพูนุท ตั้งถาวร, 2556) แต่อ�านาจในการแก้ไข
รัฐธรรมนูญเป็นอ�านาจที่ต่อเนื่องมาจาก “อ�านาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง”
หรือ “อ�านาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” (Constituent Power) อันเป็นอ�านาจที่ให้ก�าเนิด
รัฐธรรมนูญและเมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้วรัฐธรรมนูญจะสร้างระบบกฎหมาย และองค์กร
ทางการเมืองรวมถึงองค์กรที่ใช้อ�านาจนิติบัญญัติ ดังนั้นอ�านาจนิติบัญญัติจึงเป็น
อ�านาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้อ�านาจนิติบัญญัติที่ได้รับ
มาจากรัฐธรรมนูญกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท�าให้เห็นว่าอ�านาจในการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่อ�านาจนิติบัญญัติ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้จะนิยมบัญญัติไว้ในตัวของรัฐธรรมนูญเอง เพื่อเป็น
วิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่มีการบังคับใช้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีความเป็นพลวัตร สอดรับกับสภาพการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป