Page 369 - kpiebook65024
P. 369
368 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ประเทศอื่น ๆ เช่น สหราชอาณาจักร และ แคนาดา ในเชิงเทคนิคเป็นระบบ
สองสภาที่ท�าหน้าที่เหมือนระบบสภาเดียว เนื่องจากสภาหนึ่งท�าหน้าที่หนักไปในด้าน
พิธีการมากกว่าและมีอ�านาจน้อย ดังนั้น ในสหราชอาณาจักร การควบคุมสภาสามัญได้
ก็คือการควบคุมรัฐบาลได้ สภาขุนนาง (House of Lords) มีอ�านาจเพียงการชะลอ
และให้ค�าแนะน�าในการแก้ไขกฎหมายเท่านั้น เคยมีการตกลงกันกว้างขวางพอควร
ว่าจะปฏิรูปสภาขุนนาง แต่เหตุผลในการสนับสนุนให้ยกเลิกไปเลยนั้นกลับมีน้อยมาก
(ดูการปฏิรูปสภาขุนนาง-ภาษาอังกฤษ [Reform of the House of Lords])
ฝ่ายสนับสนุนระบอบสภาเดียวมีประเทศที่ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ (เช่น สาธารณรัฐ
ประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคิวบา) หรือที่เคยเป็นระบอบคอมมิวนิสต์
(เช่นยูเครน โมลเดวา และ เซอร์เบีย) ทั้งนี้เนื่องจากในมุมมองของสังคมนิยม สถาบัน
ของสภาสูงมักถูกมองว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือ ผู้สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้น
หัวกระทิ (Elitist) และพวกสนับสนุนชนชั้นกลางโดยธรรมชาติ
2) ระบบสองสภา หมายถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแบ่งออกเป็นสองฝ่ายหรือ
สองประเภท ซึ่งอาจมีคุณสมบัติต่างกัน และมีการประชุมกันคนละเวลาและสถานที่
มีอ�านาจหน้าที่มากน้อยต่างกัน และบางทีอาจมีวาระการด�ารงต�าแหน่งต่างกัน มีจ�านวน
สมาชิกต่างกัน หรืออาจมีฐานะเป็นผู้แทนของประชาชนทั่วทั้งประเทศหรือแต่ละมลรัฐก็ได้
ในกรณีพิเศษสภาที่สองอาจประชุมร่วมกันหรือพร้อมกันก็ได้ (โสภณ เคนวิเศษ, 2536)
ระบบสองสภาจึงเป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติสององค์หรือ
มีรัฐสภาสองสภา ดังนั้น ระบบสองสภา หรือ สององค์นิติบัญญัติจึงประกอบด้วย 2 องค์
ประชุมคือสภาสูงและสภาล่าง ระบบสองสภานับเป็นหัวใจส�าคัญของรูปแบบคลาสสิก
ของรัฐบาลผสม องค์นิติบัญญัติแบบสองสภาจึงจ�าเป็นต้องมีเสียงข้างมากในการผ่าน