Page 268 - kpiebook65021
P. 268
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
การสร้างความเข้าใจและพัฒนาความร่วมมือนี้ มีความสอดคล้องกับการพัฒนานโยบาย สาธารณะ
แบบมีส่วนร่วมที่เป็นแบบล่างขึ้นบน คือ เป็นการด าเนินการโดยภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก
โดยมีองค์กรภายนอกอย่างคณะผู้วิจัยเป็นผู้ชักชวนและเสนอให้มีการจัดท านโยบายสาธารณะร่วมกัน และการ
ให้ความร่วมมือของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีความสอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการ
พัฒนานโยบายสาธารณะที่เป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดเวที ความร่วมมือของหน่วยงาน
รับนโยบาย หน่วยงานรับนโยบายเป็นผู้จัด ภาวะผู้น าของผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ (ถวิลวดี บุรีกุล ทศพล สมพงษ์
และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.44) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือกับข้าราชการและ
คณะผู้วิจัยที่ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาในพื้นที่ จนสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อการเก็บข้อมูลจากการเก็บ
แบบสัมภาษณ์และกลุ่มเป้าหมายส าหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย
9.1.2 กำรรวมรวมควำมคิดเห็น
วิเคราะห์ผลจากการรวบรวมความคิดเห็นจากแบบสัมภาษณ์ ใน 7 ประเด็น ได้แก่
1) สภาพพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีในอดีต: ในภาพรวมของจังหวัดส่วนใหญ่มองเห็นเรื่องระบบ
สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีความสะดวกทั้งการคมนาคมระบบน้ ากินน้ าใช้ระบบไฟฟ้าและ
ระบบสื่อสาร พื้นที่อื่นส่วนใหญ่มีความเห็นภาพในอดีตสอดคล้องกัน ยกเว้นอ าเภอโป่งน้ าร้อนที่ส่วนใหญ่เห็น
ภาพอดีตในประเด็นทรัพยากรที่มีแหล่งป่าไม้ อากาศบริสุทธิ์ น้ าพุร้อนธรรมชาติ และแหล่งน้ าเกษตรเพียงพอ
กับอ าเภอนายายอามที่ส่วนใหญ่เห็นประเด็นการท่องเที่ยวและสถานที่ส าคัญว่ามีความสวยงามแต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก
เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มทางสังคมก็มีความเห็นสอดคล้องกันกับภาพรวมของจังหวัด
2) ความภาคภูมิใจในจังหวัดจันทบุรี: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่เป็นเรื่องระบบ
สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น กับประเด็นเรื่องการประกอบอาชีพ ที่คนจันทบุรีภูมิใจกับการ
ประกอบอาชีพเกษตรและรู้สึกว่ามีอาชีพที่มั่นคง เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคมส่วนใหญ่ภูมิใจ
กับประเด็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพเช่นกัน
3) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกห้าปีข้างหน้า: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่
อยากเห็นอนาคตอีกห้าปีข้างหน้าในประเด็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น เช่น ถนน ไฟฟ้า
น้ าประปาที่ครอบคลุม อินเทอร์เน็ตฟรี ส่วนการประกอบอาชีพคือมีการเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงในอาชีพ
ยกเว้นอ าเภอแหลมสิงห์ที่อนาคตอีกห้าปีข้างหน้าส่วนใหญ่อยากเห็นทรัพยากรที่ไม่ถูกท าลาย ป่าชายเลนมี
ความสมบูรณ์ เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคมส่วนใหญ่อยากเห็นการพัฒนาสาธารณูปโภคและ
การประกอบอาชีพเช่นกัน
4) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกสิบปีข้างหน้า: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่
อยากเห็นอนาคตอีกสิบปีข้างหน้าในประเด็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้นเช่นเดียวกับที่อยาก
เห็นในอีกห้าปีข้างหน้า ขณะที่อ าเภอนายายอามส่วนใหญ่อยากเห็นอนาคตอีกสิบปีข้างหน้าในประเด็น
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดขยะและไร้มลพิษ เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคม
ส่วนใหญ่อีกสิบปีข้างหน้าอยากเห็นการพัฒนาสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพเช่นกัน
5) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่
อยากเห็นอนาคตอีกยี่สิบปีข้างหน้าในประเด็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้นเช่นเดียวกับที่อยาก
243