Page 267 - kpiebook65021
P. 267

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





              อ าเภออาจไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าร่วมสะท้อนความต้องการเป็นผู้น าชุมชน ผู้น าท้องถิ่น
              หรือผู้น ามวลชนเท่านั้น หรือสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละต าบลมีความแตกต่างกัน เพราะมีพื้นที่
              ทะเล ภูเขา ที่ราบลุ่ม ท าให้การท าแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดรับความต้องการทั้งหมดเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้

              การจัดท าแผนและนโยบายของจังหวัดยังมีความท้าทายอันเกิดจากนโยบายและกฎหมายซึ่งส่งผลต่อการ
              ปฏิบัติ เช่น แผนและนโยบายระดับประเทศมีการปรับเปลี่ยนบ่อย ท าให้ฝ่ายปฏิบัติปรับตัวไม่ทันกับแผนที่
              เปลี่ยนหรือต้องปรับทิศทางการท างานตาม ในส่วนระเบียบหรือข้อกฎหมายมีข้อจ ากัดที่ท าให้หน่วยงานระดับ
              ท้องถิ่นไม่อาจสนองทุกความต้องการของประชาชนได้ เช่น การส ารวจความต้องการแล้วอาจเกินศักยภาพของ
              ท้องถิ่นตามกฎหมาย ท าให้ท้องถิ่นไม่สามารถด าเนินการได้ ประชาชนก็จะเข้าใจว่าปัญหาและความต้องการ

              ของเขาไม่ได้ถูกเสนอไปสู่การจัดท าแผนและนโยบาย อีกทั้งระบบงบประมาณที่มีการตั้งไว้ส าหรับด าเนินการใน
              ปีนี้แต่ใช้ได้ในอีกปีถัดไปก็ไม่ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจ าเป็นต้องสร้างความเข้าใจและสื่อสาร
              กลับไปยังประชาชนว่าข้อเสนอที่ไม่ได้รับการสนองตอบนั้นมีข้อจ ากัดอะไรบ้าง

                     ความท้าทายที่พบเกี่ยวกับว่าข้อเสนอความต้องการของประชาชนอาจไม่ได้ถูกน าไปสู่การตัดสินใจ
              ขั้นสุดท้ายนั้น มีความสอดคล้องกับนักวิชาการบางท่านว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะของ

              ภาคประชาชน ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าผลลัพธ์จากกระบวนการมีส่วนร่วมจะน าไปสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย
              เพราะมีอุปสรรคส าคัญหลายประการ ได้แก่ การเมืองที่เกิดขึ้นในกระบวนการตัดสินใจขั้นสุดท้าย และการมี
              ส่วนร่วมของประชาชนยังไม่ไปถึงการตัดสินใจ ท าให้ข้อเสนอของประชาชนถูกแทรกแซงโดยอ านาจทาง

              การเมืองได้ง่าย (Emery et al., 2015) นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ว่าผู้ตัดสินใจทางนโยบาย หรือองค์คณะที่ท า
              หน้าที่ในการพิจารณาแผนและงบประมาณ มีความเชื่อและมุมมองอื่นมากกว่า ดังที่ Kettl & Fesler (2009)
              Winterfeldt (2013) และ Emery et al. (2015) กล่าวว่าข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้และการให้มุมมองก็อาจเปลี่ยน
              ความคิดของผู้มีอ านาจตัดสินใจ อาจกล่าวได้ว่าการตัดสินใจคือการใช้วิจารณญาณ ความเชื่อและค่านิยมของ

              ผู้ก าหนดนโยบายมักพบถูกน ามาใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบาย

                     ส าหรับการพัฒนาความร่วมมือต่อไปเพื่อให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนในการวิจัย หากจะค้นหาความ
              ต้องการจากประชาชนอย่างเดียวอาจไม่เกิดการเรียนรู้ ควรให้มีภาครัฐแต่ละอ าเภอมาเข้าด้วย ในส่วนของแบบ
              สัมภาษณ์ควรให้แกนน า หรือผู้น าชุมชนช่วยให้ข้อมูลและรวบรวมให้ นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด
              ได้ให้การสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมความต้องการและการพัฒนาข้อเสนอทิศทางการพัฒนาตามรูปแบบที่

              คณะผู้วิจัยออกแบบไว้ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหลังการรวบรวมความต้องการแล้ว กลุ่มข้าราชการใน
              พื้นที่ ภาคเอกชน ประชาชน และกลุ่มอื่น ๆ ส่วนจังหวัดเป็นผู้เชิญภาคส่วนเหล่านี้ได้เพราะทราบว่าควรเชิญ
              หน่วยงานใดเข้าร่วม ส่วนผู้น าท้องถิ่นหรือผู้น าชุมชนส านักงานอ าเภอจะจัดหาตัวแทนได้ หรือกลุ่มอื่นอย่าง

              สื่อมวลชน องค์กรชุมชน เกษตรกร สามารถเชิญตามกลุ่ม ซึ่งคณะผู้วิจัยอาจท าหนังสือขอความอนุเคราะห์
              มายังผู้ว่าราชการจังหวัด โดยก าหนดความต้องการให้แต่ละกลุ่มเข้าร่วมในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
              ดังกล่าวได้ ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่หรือเยาวชน ทางคณะผู้วิจัยอาจส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์
              ไปยังสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏร าไพพรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา เทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งการ
              เชิญภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมควรชี้แจงด้วยว่าโครงการวิจัยนี้ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ผลที่ได้รับ

              จากการเข้าร่วมโครงการนี้ควรท าให้เห็นเป็นรูปธรรม หากท าแล้วน าไปเสนอฝ่ายการเมืองเพื่อให้ได้รับการ
              สนับสนุนก็จะเป็นรูปธรรมขึ้น







                                                         242
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272