Page 266 - kpiebook65021
P. 266
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
บทที่ 9
สรุป อภิปรำยผล และข้อเสนอแนะ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างสิทธิและการมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายจาก
ภาคประชาชน โดยมีพื้นที่จังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่ศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายเปิดตัวอย่างที่
คัดเลือกแบบโควตาตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคม กระจายตามต าบลทั้ง 76 ต าบล ต าบลละ 10 ท่าน
รวมทั้งสิ้น 760 คน และผลจากการตอบแบบสอบถามจ านวน 23 คน คณะผู้วิจัยขอน าเสนอส่วนสรุปและ
อภิปรายผล ดังต่อไปนี้
9.1 อภิปรำยผลตำมกรอบแนวคิด
9.1.1 กำรสร้ำงควำมเข้ำใจและพัฒนำควำมร่วมมือ
จากการเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับสูงในจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 9 มีนาคม 2564
พบว่า การจัดท าแผนที่มาจากความต้องการของประชาชนมีการท ารูปแบบประชาคมหรือประชาชนสามารถ
เสนอความต้องการได้โดยตรง โดยรูปแบบการท าประชาคมจะเริ่มจากมีแผนชุมชน ต่อมาถึงแผนพัฒนาต าบล
ซึ่งพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดประชาคมถามปัญหาและความต้องการ จากนั้นน าไปสู่แผนพัฒนาอ าเภอ ซึ่งทาง
อ าเภอเป็นผู้จัด และรวบรวมส่งมาที่จังหวัด ส าหรับแผนที่เสนอมานี้หากมีข้อเสนอที่เกินศักยภาพของต าบล
เกินศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจะถูกส่งไปพิจารณาที่ระดับจังหวัด แล้วมีการพิจารณาว่าข้อเสนอ
แต่ละเรื่องเป็นอ านาจหน้าที่ของหน่วยงานใด เช่น โครงการขนาดใหญ่สร้างถนนหรือสะพาน จะถูกน าไปจัดท า
เป็นแผนจังหวัดหรือแผนภาค ซึ่งแผนพัฒนาจังหวัดถือเป็นแผนรวมการท าหน้าที่ของหน่วยงานทุกระดับ การ
รวบรวมปัญหาความต้องการของจังหวัดจันทบุรีถือว่าได้รับความร่วมมืออย่างดี ก่อนที่จะน าแผนเข้าพิจารณา
โดยคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อพิจารณาแผนจังหวัดก่อนส่งไปพิจารณาตามกระบวนการ
ของส่วนกลาง ซึ่งคณะกรรมการนี้มีระเบียบในการสรรหาเพราะให้มีตัวแทนทุกภาคส่วนที่รวมถึงภาคประชาสังคม
และประชาชนร่วมเป็นกรรมการ
ข้อค้นพบนี้ สะท้อนว่าการจัดท านโยบายการจัดท านโยบายสาธารณะในจังหวัดจันทบุรีเป็นทั้งแบบ
บนลงล่างคือรัฐท า สอดคล้องกับ ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก (2563, น.44)
ที่ระบุว่า การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสามารถท าได้ 2 แบบ ได้แก่ 1) การพัฒนานโยบาย
สาธารณะแบบมีส่วนร่วม “แบบบนลงล่าง” ซึ่งเป็นการด าเนินการโดยภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นผู้ริเริ่มจัดท านโยบาย โดยเปิดพื้นที่แบบเชิญชวนให้กับภาคพลเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ
มาร่วมเป็นหุ้นส่วน ส่วนแบบล่างขึ้นบนเป็นการด าเนินการโดยประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ
มาจัดกระบวนการร่วมกัน
ในประเด็นความท้าทายของภาคประชาชนในจังหวัดจันทบุรีกับการจัดท านโยบาย ไม่พบอุปสรรค
ในเชิงของการมีส่วนร่วมจากประชาชน เพราะการจัดท าแผนพัฒนาของจังหวัดเป็นกระบวนการที่ให้หน่วยงาน
ระดับอ าเภอจัดท าประชาคมสะท้อนความต้องการของประชาชน ส่วนท้องถิ่นก็มีการท าประชาชนเช่นกัน
อุปสรรคที่พบเป็นเรื่องความครอบคลุมของพื้นที่และกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วม เช่น การจัดท าประชาคมระดับ
241