Page 258 - kpiebook65021
P. 258
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
บทที่ 8
ผลกำรศึกษำจำกแบบสอบถำม
ผลการศึกษาในส่วนนี้เพื่อทดสอบการรับรู้ ความคิดเห็น และการแสดงออกด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม
ในการพัฒนานโยบายสาธารณะของตัวแทนประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่ม
แบบโควตาจากผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์ โดยที่มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 23 ท่าน ซึ่งอาจไม่สามารถ
น าไปวิเคราะห์เพื่อเป็นตัวแทนข้อมูลของประชาชนทั้งจังหวัดได้ แต่ผู้วิจัยจ าเป็นต้องน าเสนอผลเท่าที่สามารถ
จัดเก็บข้อมูลได้ โดยน าเสนอผลในสองส่วน ส่วนแรกเป็นการเสนอข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จากนั้น
ส่วนที่สองเป็นการน าเสนอผลในส่วนการประเมินการรับรู้ ความคิดเห็น และการแสดงออกด้านสิทธิและการ
มีส่วนร่วม ดังต่อไปนี้
8.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถำม
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เกินครึ่งหนึ่งของผู้ตอบทั้งหมดเป็นเพศหญิง และส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่ง
อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี และในด้านของอาชีพ ผู้ตอบเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐมากที่สุด
และมีบางส่วนอยู่ในกลุ่มอื่น เช่น เป็นผู้พิการ ข้าราชการบ านาญ ภาคประชาสังคม หรือเป็นทั้งข้าราชการ/
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและเกษตรกร หรือเป็นทั้งข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐและค้าขายด้วย
รายละเอียดผู้ตอบจ าแนกตามเพศ ช่วงอายุ และอาชีพ ปรากฏดังตาราง 8.1 8.2 และ 8.3
ตำรำง 8.1 ผู้ตอบแบบสอบถามจ าแนกเพศ
เพศ จ ำนวน ร้อยละ
ชาย 8 34.78
หญิง 13 56.52
ไม่ตอบ 2 8.70
รวม 23 100.00
ตำรำง 8.2 ผู้ตอบแบบสอบถามจ าแนกตามช่วงอายุ
อำยุ จ ำนวน ร้อยละ
ต่ ากว่า 20 ปี 0 0.00
21 - 30 ปี 1 4.35
31 - 40 ปี 3 13.04
41 - 50 ปี 3 13.04
51 - 60 ปี 10 43.48
มากกว่า 60 ปี 4 17.39
ไม่ตอบ 2 8.70
รวม 23 100.00
233