Page 33 - kpiebook65015
P. 33
32 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เราสามารถสรุปเรื่องระบบเลือกตั้ง วิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง และจ�านวน ส.ส.
ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่ 1 จนถึงครั้งที่ 24 ซึ่งสรุปได้เป็น 4 ช่วง ดังที่กล่าวไปข้างต้น
ได้ดังต่อไปนี้
2.1 การเลือกตั้งครั้งแรก : เลือกตั้งทางอ้อม
รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ไม่ได้ก�าหนดว่าจะใช้ระบบเลือกตั้งใด
ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่ได้ก�าหนดไว้ด้วยว่าต้องเป็นการเลือกตั้ง
26
โดยตรง เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เป็นหลักการแต่เพียงว่า “สภาผู้แทนราษฎร
ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งขึ้น” โดยให้วิธีการเลือกตั้ง
27
และจ�านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
28
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก�าหนด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ พ.ศ. 2475 มาตรา 3 บัญญัติให้ “ผู้แทนต�าบล”
ในจังหวัดเป็นผู้เลือก “ผู้แทนราษฎร” จังหวัดละหนึ่งคน ซึ่งคือการเลือกตั้งทางอ้อม
นั่นเอง หากจังหวัดใดมีประชากรเกินกว่าหนึ่งแสนคน ให้เลือกตั้งผู้แทนราษฎร
26 รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ก�าหนดหลักการเลือกตั้งโดยตรงคือ รัฐธรรมนูญ 2489 โดยบัญญัติไว้
ที่มาตรา 29 วรรคสาม “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ให้ใช้วิธีลงคะแนนออกเสียงโดยตรงและลับ”
ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากนั้นก็ใช้ถ้อยค�าเดียวกันนี้มาโดยตลอด
27 มาตรา 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
28 รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 มาตรา 17 บัญญัติว่า “คุณสมบัติแห่งผู้เลือกตั้งและ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งวิธีเลือกตั้งและจ�านวนสมาชิกให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”