Page 223 - kpiebook65012
P. 223

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  223


                  ในอีกด้านหนึ่ง เราจะพบว่ารายจ่ายของกรุงเทพมหานครนั้น
          ก็เพิ่มขึ้นทั้งที่ประชากรที่ลงทะเบียนอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครลดลง

          ซึ่งเมื่อรวมพิจารณากับประเด็นเรื่องรายได้ เราสามารถอธิบายได้ว่า
          ปัญหาใหญ่ที่กรุงเทพมหานครนั้นก�าลังเผชิญอยู่ก็คือการดูแลพื้นที่
          ที่มีประชากรแฝงมากกว่าประชากรจริง และการลงทุนจ�านวนมากนั้น

          มีเป้าหมายที่เหมือนกับจะรองรับประชากรจ�านวนมากทั้งที่จ�านวน
          ประชากรที่ลงทะเบียนนั้นน้อยลง และจะเริ่มเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐาน

          ของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคมนาคมขนส่ง
          อาทิ รถไฟฟ้า/ใต้ดินที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้นขยายตัวไปถึงเขตชานเมือง
          และอาจจะข้ามเขตออกจากพื้นที่ในการดูแลของกรุงเทพมหานครไปด้วย

          (แม้ว่าส่วนนี้จะไม่ใช่งบประมาณตรงของกรุงเทพมหานคร) และจะพบว่า
          งบประมาณเขตที่อยู่รอบนอกที่มีประชากรเพิ่มขึ้นก็จะมีมากขึ้นไปด้วย


                  นอกจากนี้หากพิจารณาจากปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นทุกปี
          (ดูแผนภาพที่ 10.1 ปริมาณมูลฝอยที่เก็บขนได้ของกรุงเทพมหานคร) และ

          งบประมาณในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากร
          ในกรุงเทพมหานครลดลง ก็ยิ่งมีความชัดเจนว่ากรุงเทพมหานครยังเป็น
          พื้นที่มีมีประชากรแฝงทั้งในส่วนของประชากรรอบกรุงเทพมหานครและ

          นักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงก่อนโควิด

                  การที่มีกรุงเทพมหานครมีมูลค่าและความส�าคัญทางเศรษฐกิจ

          เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาที่ดินที่สูงขึ้น มีโครงการและงบประมาณที่รองรับ
          การพัฒนาเมืองที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้นนั้นมีอีกมิติที่พึงพิจารณา

          นั่นก็คือเรื่องของแรงตึงเครียดกดดันของคนจนในกรุงเทพมหานคร
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228