Page 56 - kpiebook64013
P. 56
1. วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489
2. วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534
3. วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
4. วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
5. วุฒิสภาที่มาจากการคัดเลือกตามกลุ่มอาชีพตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีข้อควร
พิจารณา ได้แก่ มาตรา 269 ในบทเฉพาะกาลที่กำาหนดโครงสร้างที่มา
สมาชิกวุฒิสภาไว้แตกต่างจากบทถาวร
เป็นที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์ในประเด็นที่มาและอำานาจหน้าที่โดยเฉพาะ
ประเด็นการกำาหนดให้จำานวนและที่มาของวุฒิสภาแบ่งเป็นสองช่วงเวลา
คือ ช่วงที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลที่กำาหนดให้วุฒิสภามีจำานวน
250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ถวายคำาแนะนำาโดยมาจากการดำาเนินการจัดให้มีการเลือกสมาชิก
วุฒิสภาของคณะกรรมการการเลือกตั้งจำานวน 50 คน และมาจาก
การคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจำานวน 194 คน
56 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย