Page 172 - kpiebook64013
P. 172
การตัดสินพิจารณาของสภาขุนนางมีกระบวนการพิจารณา
เหมือนศาลยุติธรรม คือ เปิดโอกาสให้ผู้กล่าวหามีสิทธิในการโต้แย้ง
คัดค้านการกล่าวหานั้นได้ หลังจากนั้นสภาขุนนางจะพิจารณาตัดสินว่า
มีความผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โดยพิจารณาเรียงลำาดับไปตาม
ข้อกล่าวหา ถ้าพิจารณาว่ามีความผิด ต้องตัดสินลงโทษผู้ถูกกล่าวหา
ซึ่งเป็นโทษทางอาญา และนำาไปสู่การถอดถอน (Impeachment)
ออกจากตำาแหน่งด้วย
2) บทบาทและอ�านาจหน้าที่ของวุฒิสภาประเทศ
ญี่ปุ่น
วุฒิสภาของประเทศญี่ปุ่นมีอำานาจหน้าที่ 4 ด้าน ประกอบด้วย
ด้านนิติบัญญัติ ด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการให้
ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ และด้านการถอดถอนโดยการเข้าร่วมเป็น
ศาลถอดถอน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. บทบาทและอ�านาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
1.1 ริเริ่มเสนอร่างกฎหมาย
สมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิในการเสนอร่างกฎหมายทุกประเภท
เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ หากเป็นสภาผู้แทนราษฎรก็ส่งร่าง
กฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และถ้าเป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ส่ง
ร่างกฎหมายต่อประธานวุฒิสภา เว้นแต่เป็นร่างกฎหมายงบประมาณหรือ
ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาแรก
ในกรณีที่เป็น “ร่างกฎหมายพิเศษ” อาจเสนอได้โดย
คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ เรียกว่า “ร่างกฎหมาย
ของคณะกรรมาธิการ” โดยที่ประธานคณะกรรมาธิการเป็นผู้นำาเสนอ
172 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย