Page 66 - kpiebook64011
P. 66

เมื่อพิจารณาแรงงานนอกระบบจ าแนกตามอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จ านวน
               41,880 คน (ร้อยละ 17.94) รองลงมาคือ อายุ 50 – 54 ปี จ านวน 39,977 คน (ร้อยละ 17.13) และผู้มีอายุ

               55 – 59 ปีขึ้นไป จ านวน 31,230 คน (ร้อยละ 13.38) ส่วนช่วงอายุ 15 – 19 ปี น้อยที่สุด มีจ านวน 1,827
               คน (ร้อยละ 0.78) (สรุปจาก ส านักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, 2564)


                       ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร (รายได้) หากดูรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน (ตามข้อมูลปี 2562)
               สมุทรปราการมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนจ านวน 24,729.42 บาท หรือมากเป็นอันดับที่ 26 ของ
               ประเทศ ซึ่งน้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนในกรณีทั่วราชอาณาจักร ที่มีรายได้จ านวน 26,018.42
               บาท ส่วนจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนมากเป็นอันดับที่ 1 คือ จังหวัดปทุมธานี มีรายได้เฉลี่ย

               ต่อเดือนของครัวเรือนจ านวน 46,977.74 บาท และที่มากเป็นอันดับที่ 2 คือ กรุงเทพมหานคร มีรายได้เฉลี่ย
               ต่อเดือนของครัวเรือนจ านวน 39,459.36 บาท (ข้อมูลปี 2562 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดเท่าที่มีจาก ส านักงานสถิติ
               แห่งชาติ, รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ. 2545 - 2562)


                       หากดูรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร (ตามข้อมูลปี 2557) จังหวัดสมุทรปราการมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว
               ของประชากรจ านวน 331,142 บาท หรือมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ ซึ่งมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของ
               ประชากรในกรณีทั่วราชอาณาจักร ที่มีรายได้จ านวน 195,995 บาท ส่วนอันดับที่ 1 คือ จังหวัดระยอง มี

               รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจ านวน 1,008,615 บาท ส่วนกรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 2 มีรายได้เฉลี่ยต่อ
               หัวของประชากรจ านวน 481,118 บาท (ข้อมูลปี 2557 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดเท่าที่มีจาก ส านักงานสถิติแห่งชาติ
               , รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร จ าแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. 2548 - 2557)


                       เศรษฐกิจของจังหวัด ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการสามารถพิจารณาได้จากข้อมูล
               ผลิตภัณฑ์จังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) โดยส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
               แห่งชาติ ดังตารางด้านล่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจที่อยู่ใน

               ภาคนอกเกษตร โดยในปี 2562 เศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการอยู่ในภาคนอกเกษตรราวร้อยละ 99.50
               (แบ่งเป็นอุตสาหกรรมร้อยละ 42.10 และบริการร้อยละ 57.40) ส่วนเศรษฐกิจในภาคเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 0.50


               ตาราง 3.3 ผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ของจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2557-2562 ณ ราคาประจ าปี


                                                                      มูลค่าล้านบาท                 คิดเป็น
                                                                                                    ร้อยละ
                                                                                                   ของ GPP
                                                      2557    2558    2559   2560    2561   2562
                                                                                                   (2562)

                ภาคเกษตร                              2,531   2,267   2,829   4,006   4,190   3,897   0.504

                เกษตรกรรม                             2,531   2,267   2,829   4,006   4,190   3,897   0.504


                - การเกษตร ป่าไม้ และการประมง         2,531   2,267   2,829   4,006   4,190   3,897   0.504

                ภาคนอกเกษตร                          663,472  685,206  700,057  725,645  787,557  768,601  99.496

                อุตสาหกรรม                           324,351  322,086  310,347  305,703  347,571  325,225  42.100







                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   48
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71