Page 25 - kpiebook64010
P. 25
1.2 วัตถุประสงค์ในกำรศึกษำวิจัย
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเมืองระดับชาติกับการเมืองระดับท้องถิ่นของการเลือกตั้งสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
3. เพื่อศึกษาปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
1.3 ขอบเขตในกำรศึกษำวิจัย
1.3.1 ขอบเขตพื้นที่ในกำรศึกษำ
การศึกษาวิจัยนี้ได้คัดเลือกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีเป็นกรณีศึกษาเนื่องด้วยเหตุผล
หลายประการ ดังนี้
ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่มีควำมเป็นเมืองและมีควำมเจริญเติบโตสูง
“จังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่ถูกออกแบบให้เป็นเมืองรองรับการขยายตัวและการ
เจริญเติบโตของกรุงเทพมหานคร และในปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีอัตราการขยายตัวของชุมชน
อย่างต่อเนื่อง ท าให้ภาวะสังคมของจังหวัดนนทบุรีอยู่ในลักษณะ “สังคมเมือง” เนื่องจากมีการ
ขยายตัวของอาคารบ้านเรือนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ในปี พ.ศ.
2560 จังหัดนนทบุรีมีประชากร จ านวน 1,229,735 คน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2560) และมีความหนาแน่นของประชากรเป็นล าดับ 2 ของประเทศ (1,975 คนต่อ
2
ตารางกิโลเมตร)” “จากสถานการณ์ของเมืองดังกล่าว ท าให้ระบบเศรษฐกิจของจังหวัด
โดยเฉพาะภาคการอุปโภคบริโภคและการขายปลีกขายส่งขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นพื้นที่
เศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศ จากข้อมูลผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ พ.ศ.
2561 ของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ผลิตภัณฑ์มวล
รวมจังหวัดนนทบุรี ปี 2561 ณ ราคาประจ าปี มีมูลค่า 188,822 ล้านบาท โดยจัดอยู่ในล าดับที่
2 ส านักงานจังหวัดนนทบุรี. (ธันวาคม 2561). บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.nonthaburi.go.th/Downloads/brief_nonthaburi.pdf เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564.
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 3