Page 24 - kpiebook64010
P. 24
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปี พ.ศ. 2563 จึงเป็นที่น่าสนใจในหลายแง่มุม อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่าง
การเมืองระดับชาติกับระดับท้องถิ่น พฤติกรรมการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พฤติกรรมของผู้มีสิทธิลงคะแนน
เสียงเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และกระบวนการจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย
ระเบียบ และประกาศที่ออกมาใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ จังหวัดนนทบุรีเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนครั้งนี้ เพราะจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่เมืองที่อยู่ติดกับ
กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่น้อยเป็นล าดับ 3 ของประเทศ รองลงมาจากสมุทรสาครและภูเก็ต แต่กลับมี
ความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในประเทศ ประกอบกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีมีรายได้สูงเป็น
1
ล าดับที่ 4 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมด หรือจ านวน 2,417.05 ล้านบาท และการเลือกตั้งครั้งนี้มีการ
แข่งขันค่อนข้างสูงเพราะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในสมัยที่ผ่านมา คือ พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ ซึ่งด ารง
ต าแหน่งมาแล้ว 3 สมัย ยังคงลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อป้องกันต าแหน่ง ขณะที่มีผู้สมัครหน้าใหม่ซึ่งลงสมัครในนาม
พรรคการเมืองเข้าร่วมแข่งขัน คือ ดร.ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ และมีผู้สมัครที่มีประสบการณ์ระดับชาติ (ผู้ลงสมัครรับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2562 ที่ผ่านมา) คือ นายฉลอง เรี่ยวแรง ได้เปลี่ยนสนามมาลงเล่น
การเมืองท้องถิ่นในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย ขณะที่ผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่ได้ลงสมัคร
โดยสังกัดพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองซึ่งมาจากสามกลุ่ม ได้แก่ คณะก้าวหน้า ที่มีดร.ไพบูลย์ กิจวรวุฒิลง
สมัครนายกฯ กลุ่มพลังนนท์ ที่มีนายฉลอง เรี่ยวแรง ลงสมัครนายกฯ และกลุ่มผึ้งหลวง ที่มีพ.ต.อ.ธงชัย เย็น
ประเสริฐ ลงสมัครนายกฯ ดังนั้น บรรยากาศการแข่งขันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีจึงค่อนข้างมีความคึกคัก
ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาบรรยากาศทางการเมืองของการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ความสัมพันธ์ของการเมืองระดับชาติกับการเมือง
ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี พฤติกรรมการหาเสียง การเลือกวิธีการ และช่องทางในการหาเสียงของผู้สมัคร ความ
ตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง และข้อเสนอแนะที่มีต่อกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นฉบับ
ใหม่ ซึ่งผู้วิจัยหวังว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไก
ส าคัญที่ท าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย โดยประชาชนมีอ านาจในการ
ตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเพื่อเข้ามาท าหน้าที่ในการบริหารท้องถิ่นและออกกฎหมายเพื่อประโยชน์สุขของ
ประชาชน ส่งผลให้การปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
1 ข้อมูลปี 2561 จาก สถาบันพระปกเกล้า. รายงานสถานการณ์การกระจายอ านาจ ประจ าปี พ.ศ. 2562 : บทส ารวจการ
พัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2563, หน้า 131.
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2