Page 94 - kpiebook64008
P. 94
ความแตกต่างของแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้ของแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด
คือ กรณีของกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมซึ่งเป็นอดีตนายก อบจ. จะสามารถพูดเรื่องงบประมาณและกิจกรรมที่ท าผ่าน
มาในรอบหลายปีได้ โดยเฉพาะการน าเสนอนโยบายหาเสียงที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่เคยท า ปัญหาที่เคยแก้ และ
งบประมาณที่เคยกระจายออกไปให้กับท้องถิ่น จากข้อมูลนายบุญเลิศกล่าวถึงแนวทางที่เคยท ามา “ที่ผ่านมาช่วง
ด ารงต าแหน่งก็ท าฝายชะลอความชุ่มชื้นไปไม่ต่ าว่า 2,000 ฝาย และ ตั้งเป้า 10,000 ฝายในเบื่องต้นจะเป็นแนวกัน
ไฟ ...ตอนนี้เรามีระบบดาวเทียมดูจุดความร้อน 2 ตัว ดาวเทียมวนไปเรื่อย ๆ พอวนผ่านไป ก็มีการเผา จุดความ
ร้อนไม่ขึ้น แต่ PM2.5 ก็เหมือนเดิม การห้ามเผาไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา เราจะมีการแบ่งเวลาเผาไหม แชร์กันว่าใครเผา
ก่อนเผาหลัง...” (The CitizenPlus, 2563)
นพ.เพทาย เตโชฬาร ตัวแทนนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร ผู้สมัคร นายก อบจ.หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
มองว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชื่อมไปถึงเรื่องของสุขภาพของประชาชนและน าเสนอนโยบายเกี่ยวโยงไปถึงช่วงสมัย
ของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ในคราวด ารงต าแหน่งที่พรรคไทยรักไทย น านโยบายเศรษฐกิจต่าง ๆ มาสนับสนุน
ประชาชน และมีการเน้นย้ าเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทางของพรรคเพื่อไทยซึ่งเชื่อว่าต้องไปแก้ที่ต้นตอ
คือ การท าให้เกษตรกรหรือประชาชนมีความมั่นคงทางรายได้ ถ้าเศรษฐกิจดีจะมีผลต่อการลดพื้นที่การเผา
การรุกล้ าป่าของเกษตรกร
นายวินิจ จินใจ ผู้สมัคร นายก อบจ. กลุ่มเชียงใหม่ก้าวใหม่ น าเสนอมุมมองถึงสาเหตุของปัญหา
ในเชิงวิพากษ์ คือ มองว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาเป็นแบบชั่วครั้งชั่วคราวไม่มีการบูรณาการท างานแก้ปัญหาต่อเนื่อง
แล้วสภาพภูมิศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ท าให้เกิดมลพิษที่กระจุกตัวภายในพื้นที่
ซึ่งควรแก้ปัญหาในส่วนของการจราจรและการคมนาคมที่มีรถจากนอกเมืองเข้ามาในเมืองจ านวนมาก สุดท้ายคือ
เรื่อง งบประมาณซึ่งขาดการบูรณาการด้านงบประมาณ เพราะเห็นว่าภาครัฐแทบทุกส่วนงานมีงบประมาณ
แต่ไม่ได้หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงไม่ต่อเนื่อง และในส่วนของตัวแทนจากกลุ่มประชารัฐเชียงใหม่ ดร.ธนากร
เนตรน้อยสกุล ผู้แทนนายบดินทร์ กินาวงค์ ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 4 มองว่าพฤติกรรมการบริโภคและ
การใช้ชีวิตของคนในเมืองก็มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของฝุ่นควันจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นอยู่ ตัวแทนกลุ่ม
ประชารัฐเชียงใหม่มองว่าบทบาทของ อบจ. ท าหน้าที่เป็นกองอ านวยการหรือประสานงานที่ดีในการแก้ปัญหา
ดีกว่า ไม่ใช่ให้มีค่ าสั่งลงมาให้วิ่งไปตามดับไฟเพราะเป็นแค่ปลายทาง ต้องมีการวางแนวทางร่วมกันและโยงไปถึง
รัฐบาลที่มาหนุนเสริมชาวบ้านที่เป็นคนท าในการป้องกันไฟป่า
ข้อสังเกตในภาพรวมที่น่าสนใจ คือ การน าเสนอนโยบายที่เชื่อมโยงกับปัญหาระดับท้องถิ่น เช่น ปัญหา
ฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งผู้สมัครนายก อบจ. ทุกคนทั้งสังกัดพรรคและเป็นกลุ่มหรือผู้สมัครอิสระ ต่างชูประเด็น
การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ทั้งในเชิงแผนนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ แนวทางในการดึงเอาประชาชนมามีส่วน
ร่วมในการแก้ปัญหา ลักษณะเนื้อหาของการออกนโยบายมีความใกล้เคียงกัน คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการเฝ้าระวังการเผา และการมีนโยบายระยะยาวที่โยงกับระบบงบประมาณ แต่หากมองวิธีการ
น าเสนอจะพบว่านายบุญเลิศซึ่งเป็นอดีตนายก อบจ. ถึง 2 สมัย มีความได้เปรียบในเรื่องข้อมูลการด าเนินการ
บริหาร มีการน าเสนอประสบการณ์และผลงานที่ตนเองเคยบริหารจัดการ เน้นสิ่งที่ได้ท า เคยท าไว้ และพร้อม
สานต่อ ในขณะที่ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยมุ่งน าเสนอประเด็นปัญหาเรื่อง PM 2.5 ที่เชื่อมโยงกับประเด็น
ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นกุญแจส าคัญของการหาเสียงตั้งแต่ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 จนถึงการเลือกตั้ง
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 73