Page 92 - kpiebook64008
P. 92
เมื่อมาดูผลการเลือกตั้งยิ่งตอกย้ าว่าการต่อสู้แข่งขันในการเลือกตั้ง อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการต่อสู้
ของคู่ต่อสู้พรรคเพื่อไทยกับตระกูลบูรณุปกรณ์ พื้นที่เขตเลือกตั้งทั้ง 42 เขต มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปเป็น
ส.อบจ. จากทั้ง 2 กลุ่ม คือ พรรคเพื่อไทย 21 ที่นั่ง และกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม เท่ากันคือ 21 ที่นั่ง ส่งผลให้เกิด
ข้อถกเถียงที่น่าสนใจภายหลังการเลือกตั้งว่า การบริหารจัดการนโยบาย งบประมาณต่างๆ ในสภาจะมีทิศทางเป็น
อย่างไร มีการพูดถึงกระทั่งปรากฏการณ์ของการซื้อ ส.อบจ. ที่จะกลายเป็นตัวแปรส าคัญในการบริหาร อบจ.
ในครั้งนี้
ในบทที่ 3 จะเห็นว่าการต่อสู้ของพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ตระกูลการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ยังเป็นไปอย่างรุนแรงเข้มข้น การมีสงครามตัวแทนของกลุ่มคนเสื้อแดง การโยงใยคนของตระกูลชินวัตรมา
ในการหาเสียงเลือกตั้ง ต่างท าให้การเมืองของจังหวัดเชียงใหม่เป็นการเมืองของชนชั้นน า แต่ในอีกด้านหนึ่ง
ประชาชนในฐานะของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ต้องการเห็นการแข่งขันในเชิงนโยบาย การบริหารพัฒนา
ท้องถิ่น ข้อถกเถียงเรื่องพรรคครอบง าท้องถิ่น หรือการให้ท้องถิ่นเป็นอิสระ หรือมองว่าพรรคที่เข้มแข็งต้องเริ่มจาก
การมีการเมืองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง มีตัวแทนพรรคการเมืองในระดับรากหญ้า เป็นข้อถกเถียงที่ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
แต่รวมถึงเชิงทฤษฎีที่มองว่าการสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็งควรท าให้นโยบายของพรรคการเมืองสามารถ
ไปสู่ความต้องการระดับท้องถิ่นได้
ปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในการเมืองการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของเชียงใหม่ที่เกิดต่อเนื่องมาจากการ
เลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2562 ท าให้เห็นบทบาทของพรรคเพื่อไทย ความเข้มแข็งของพรรคที่ยึดโยงเครือข่าย
ผู้น าท้องถิ่น ความได้เปรียบของนโยบายในยุคของทักษิณ ชินวัตร ที่มีผลต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้งในระดับ
เทศบาลในเวลาต่อมา นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของกลุ่มอิสระที่พยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปสู่พรรคการเมือง
หรือกลุ่มการเมืองในระดับชาติก็เป็นนัยที่น่าสนใจต่อการศึกษาการเมืองท้องถิ่น ที่จะเป็นทางเลือกและสีสันของ
การเมืองท้องถิ่นที่ไม่ใช่การผูกขาดการเมืองในอนาคต
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 71