Page 93 - kpiebook64008
P. 93
บทที่ 4
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและการจัดการการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ในบทที่ 4 เป็นการน าเสนอข้อมูลของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้แข่งขันนายก อบจ.พรรคเพื่อไทย
กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม กลุ่มเชียงใหม่ก้าวใหม่ และกลุ่มประชารัฐเชียงใหม่ ซึ่งมีการน าเสนอนโยบายและการส่ง
ผู้สมัคร ส.อบจ. ลงแข่งขันในพื้นที่เขตเลือกตั้งตามอ าเภอต่าง ๆ ในสัดส่วนไม่เท่ากัน จะมีเพียงพรรคเพื่อไทยและ
กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมเท่านั้น ที่ส่งผู้สมัคร ส.อบจ. ครบทุกเขตเลือกตั้งทั้ง 42 เขต โดยแนวทางทั้งนโยบายและ
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้จะให้ความส าคัญกับบทบาทของผู้สมัครนายก อบจ. มากกว่า
การให้ผู้สมัคร ส.อบจ. แสดงบทบาททางการเมือง เนื่องจาก นายก อบจ. ถือเป็นตัวแทนของทั้งภาพลักษณ์และ
ความเป็นผู้น าของกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้ง ดังนั้นการน าเสนอในบทที่ 4 จะมีเนื้อหาที่สะท้อนบทบาทของ
ผู้สมัคร นายก อบจ. และการตอกย้ าทัศนคติของประชาชนในเรื่องความนิยมในตัวบุคคลและพรรคการเมือง
โดยจะแบ่งข้อมูลและการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 นโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น
4.2 รูปแบบและวิธีการในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
4.3 ระบบหัวคะแนนและการซื้อเสียง
4.4 การจัดการเลือกตั้ง
ปัญหาส าคัญของจังหวัดเชียงใหม่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่มีผลต่อทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ เกิดความ
ขัดแย้งของคนเมืองกับนอกเมืองจากมายาคติเรื่องผู้ก่อมลพิษ ถูกน ามาใช้เป็นแนวทางในการก าหนดนโยบาย
ของทุกพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ประเด็นเรื่องฝุ่น PM2.5 จะยังคงปรากฏในนโยบายหาเสียงของ
การเลือกตั้งในแต่ละระดับอย่างต่อเนื่อง ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่มีการจัดโดยองค์กรภาคประชาชนไม่ว่า
จะเป็นสภาลมหายใจ สภาพลเมืองเชียงใหม่ Thai PBS หรือเวทีที่ภาคส่วนต่างๆ จัดให้เป็นเวทีน าเสนอวิสัยทัศน์
ต่างต้องการฟังแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะของ นายก อบจ.
ภาพถ่ายโดยผู้วิจัย ในเสวนาจัดโดยสภาลมหายใจเชียงใหม่
ประเด็น “ปัญหาหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่” วันที่ 9 ธันวาคม 2563
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 72