Page 166 - kpiebook64008
P. 166

ในการจัดท าแบบส ารวจ ผู้วิจัยยังได้ศึกษาความส าคัญของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
               กับพรรคการเมือง โดยสอบถามประเด็นการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ ส.อบจ. ที่เชื่อมโยงกับพรรค

               การเมืองในประเด็นดังนี้




















                แผนภูมิที่ 5.10 แสดงปัจจัยในการที่ผู้สมัคร ส.อบจ.สังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเดียวกันกับนายก อบจ.


                        -  ประเด็นการสังกัดพรรคการเมือง การเป็นกลุ่มการเมืองเดียวกันกับนายก อบจ. การเป็นผู้สมัคร
               อิสระ และกลุ่มอิสระ ที่ตนเองชื่นชอบ จากแผนภูมิที่ 7, 8 และ 9 พบว่ามีความส าคัญมากกับการที่ผู้สมัคร
               ส.อบจ. ควรสังกัดพรรคและควรเป็นพรรคเดียวกันกับ นายก อบจ.ที่ชื่นชอบ เพราะในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่

               มีผู้สมัครอิสระแม้จะเป็นคนชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ เช่น นายวิรัช บัวชุม หรือ ที่เรียกว่า ก านันวิรัช อดีตก านันแหนบ
               ทองค าแห่งเชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด ลงสมัคร ส.อบจ. เขต 1 อ.ดอยสะเก็ด ในนามอิสระ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
               ผลคะแนนของการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่สะท้อนการยึดติดกับภาพลักษณ์ความเป็นองค์กรทางการเมืองในรูปแบบ
               พรรคการเมืองของพื้นที่เชียงใหม่ค่อนข้างเข้มแข็งมาตั้งแต่ยุคของพรรคไทยรักไทยจากการใช้นโยบายประชานิยม

               หาเสียงเลือกตั้งแล้ว และจากผลส ารวจท าให้เห็นว่าบทบาทของผู้น าในฐานะนายก อบจ.เป็นประเด็นส าคัญที่จะท า
               ให้ทีมหรือผู้สมัครในสังกัดเดียวกันสามารถชนะได้ ดังนั้น การเน้นตัวบุคคลหรือคุณสมบัติของตัวบุคคล
               ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจึงมีความส าคัญมากกว่ากลุ่มการเมืองหรือพรรค ซึ่งเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างโอกาสชนะให้
               มากขึ้นได้
















                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   145
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171