Page 81 - kpiebook64007
P. 81
บทที่ 5
พฤติกรรมทำงกำรเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัย
ที่ส่งผลต่อกำรตัดสินใจลงคะแนน
การศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่จัดการเลือกตั้วขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ย่อมไม่ครบถ้วน
หากขาดข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผล
ต่อการตัดสินใจลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่ง ฉะนั้น ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจึงได้
ด าเนินการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาความคาดหวังในการไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง ช่องทางการรับรู้ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ และข้อมูลอื่น ๆ
เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น ในบทนี้ ผู้วิจัยจะกล่าวถึงวิธีการ
และเครื่องมือที่ใช้ในการส ารวจ ผลการส ารวจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และผล
การส ารวจเกี่ยวกับพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
วิธีกำรส ำรวจ
ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง
ประชากรส าหรับการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งในการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2563 ผู้วิจัยก าหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการก าหนดกลุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในเบื้องต้นผู้วิจัยได้ก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจ านวน 700 คน
จากประชากรในจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น 1,802,872 คน ซึ่งมีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 99 และ
ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับร้อยละ 5 จากนั้นผู้วิจัยได้แบ่งพื้นที่จังหวัดขอนแก่นออกเป็น 5 กลุ่มพื้นที่
(Cluster) ตามที่ตั้งและจ านวนประชากร และได้ก าหนดโควตาจ านวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มพื้นที่
ตามสัดส่วนจ านวนประชากร ดังแสดงในตารางที่ 10 และตารางที่ 11
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 64